กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามโรคเบาหวานในชุมชน
รหัสโครงการ L3332
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 37,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่สาเหตุการตายของประชาชนเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเฉียบพลันมาเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอันทำให้บุคคลเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น โรคระบบไหลเวียนเลือดเป็น กลุ่มโรคหนึ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็น กลุ่มที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอ และเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมากที่สุด จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเหวานส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การรับประทานยา หรือฉีดยา และการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งถ้าไม้ได้รับการแก้ไขจะทำให้  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ และ  มีหลักฐานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะควบคุมป้องกันหรือชะลอการเกิดหรือการดำเนินของโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอ อัตราการป่วยและอัตราการตายของประชากรในเขตรับผิดชอบ ปี ๒๕๖6 พบอัตราป่วยโรคเบาหวาน ๒,๗๐๓.๗๐ ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง อัตราป่วย ๙,๐๗๔.๐๗ และอัตราตายโรคหัวใจและหลอดเลือด ๑๓๔.๙๕ ต่อแสนประชากร โรคมะเร็ง อัตราตาย๓๓.๗๔ต่อแสนประชากร และจากการคัดกรองสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖7 ( ตุลาคม ๒๕๖6 - ธันวาคม ๒๕๖6) พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานร้อยละ ๒๓.๘๘ และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๖.๘๖ และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 1๒6 คน สามารถควบคุมน้ำตาลได้จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 21.41
      ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการติดตามโรคเบาหวานในชุมชน ”ขึ้นเพื่อส่งเสริม /สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายมีความแข็งแรงทั้งกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนในการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน มีความรู้ในเรื่องโรคเบาหวาน การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารและยา การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพตา ไต เท้า ทั้งสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

1.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (อัตราควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น)

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับพฤติกรรมในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย ถูกวิธี และลดการพึ่งพาการใช้ยาที่เกินความจำเป็น

2.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถนำความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ทั้งความรู้เรื่องโรค  การตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การตรวจเท้าและการดูแลเท้า มาใช้ดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

3 3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้

3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้มากกว่าร้อยละ 40

4 4.เพื่อให้อสม.สามารถติดตามผู้ป่วยที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงได้

4.อสม.สามารถติดตามผู้ป่วยที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงได้ ๑๐๐ %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน 2.เพื่อให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน 3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด 4.อสม.สามารถติดตามผู้ป่วยที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงได้ 5.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 15:29 น.