กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567
รหัสโครงการ DL34112567015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางคลาน
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 10,530.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจงรัก โหง้วประสิทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัชนีกร แท่งทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 10,530.00
รวมงบประมาณ 10,530.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1 จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55 ทั้งนี้การสร้างสมอง อวัยวะต่าง ๆ และระบบการทํางานทุกอย่างของร่างกาย รวมทั้งการเจริญเติบโตของทารก ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยอาหารและโภชนาการในการสร้างทั้งสิ้น การเตรียมความพร้อมของสตรีระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปีจะเป็นตัวกําหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้ ดังนั้น การสร้างคนไทยรุ่นใหม่          ให้สุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรค จึงต้องให้ความสําคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ร่วมกับอาหาร/เครื่องดื่มสะอาดปลอดภัย การดูแลสุขภาพช่องปาก การกอด การเล่น การนอน การอ่านเล่า นิทาน เป็นผลให้เด็ก        มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth) สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ระดับเชาวน์ ปัญญา พัฒนาการเรียนรู้ การเข้าสังคม จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคต ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับลูก แต่ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น มีการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่น ส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ จึงมักจะละเลยการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ มีภาวะซีด ส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กในอนาคตตลอดจนสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ปกครองต้องมุ่งแต่หารายได้ จึงละเลยการดูแลบุตรหลาน ส่งผลให้บุตรหลาน          มีปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน เตี้ย ผอม) พัฒนาการล่าช้า ฟันผุ เป็นต้น จากข้อมูล 3 ปี ย้อนหลัง พบว่า ตำบลบางคลานมีหญิงหลังคลอด 3 ปีย้อนหลัง มีอัตราการคัดกรองหญิงหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น ปี 2564 หญิงหลังคลอด 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.50 ปี 2565 หญิงหลังคลอด 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.67 และปี 2566 หญิงหลังคลอด 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.82 และการคัดกรองพัฒนาการล่าช้า 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2564 เป้าหมายการคัดกรองพัฒนาการล่าช้า 107 ราย คัดกรอง 106 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.07 ปี2565 เป้าหมายการคัดกรองพัฒนาการล่าช้า 101 ราย คัดกรอง 100 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.01 และปี 2566 เป้าหมายการคัดกรองพัฒนาการล่าช้า 92 ราย คัดกรอง 90 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.83 และปัญหาสุขภาพช่องปากของ เด็กอายุ 0-5 ปี ในตำบลบางคลาน ปี 2564 พบปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก 51 คน คิดเป็นร้อยละ 51.51 ปี 2565 พบปัญหาสุขภาพช่องปากเด็ก 60 คน คิดเป็นร้อยละ 60.6 และปี 2566 พบปัญหาสุขภาพช่องปาก 69 คน คิดเป็นร้อยละ 69.69 จะเห็นได้ว่า 3 ปีย้อนหลังปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-5 ปี เพิ่มมากขึ้น ทางชมรมแกนนำแม่และเด็กจึงร่วมกับทองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางคลานจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567 ขึ้นมาโดยเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากเด็ก พัฒนาที่สมวัย และหญิงหลังคลอด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 .เพื่อสร้างแกนนำมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็กอายุ 0-5 ปี 2. เพื่อสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ตามมาตรฐานฝากครรภ์คุณภาพ 3.เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว 4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0 - 5 ปี ด้านสุขภาพช่องปาก และพัฒนาการที่สมวัย

1 เพื่อสร้างแกนนำมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็กอายุ 0-5 ปี
2 เพื่อสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ตามมาตรฐานฝากครรภ์คุณภาพ 3 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว 4 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0 - 5 ปี ด้านสุขภาพช่องปาก และพัฒนาการที่สมวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,530.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเป้าหมายตามแนวทางมหัศจรรย์ 2,500 วันแรกแห่งชีวิต 0 10,530.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ (270 วัน) 2), เด็กอายุ 0 - 6 เดือน (180 วัน) 3), เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี (550 วัน) ได้รับการส่งเสริมสุขภาพโดยแกนนำ ตามแนวทางมหัศจรรย์ 2,500 วันแรกแห่งชีวิต
  2. หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ตามมาตรฐานฝากครรภ์คุณภาพ
    1. เด็กแรกเกิดกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
    2. เด็กปฐมวัยของตำบลบางคลาน สูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 00:00 น.