กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ใน 11 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
รหัสโครงการ L7250-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสินไพบูลย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 34,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ โกยมาศ ตำแหน่ง อสม.ชุมชนสินไพบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.197649,100.600981place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ที่มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์    โรคไข้เลือดออก ปี 2566 ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้เหมาะแก่การขยายพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครสงขลานั้นได้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และยุงรำคาญเนื่องจากมีประชากรที่หนาแน่นหลายพันครัวเรือน การปลูกอาคารบ้านเรือนที่หนาแน่นและชุมชนแออัด ส่งผลให้การดูแลทำความสะอาดถนน คูระบายน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆไม่ทั่วถึง อีกทั้งขาดความร่วมมือ เอาใจใส่จากประชาชนในชุมชน จึงก่อให้เกิดการแพร่พันธุ์ยุงลายในบริเวณกว้าง ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก    ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง วันที่ 31 ตุลาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 280 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 350.76 ต่อแสนประชากร และพบจำนวนผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ 11 ชุมชน (สระเกษ,สินไพบูลย์,บ่อนวัวเก่า,ชัยมงคล,เมืองใหม่พัฒนา,พัฒนาใหม่,ร่วมใจพัฒนา,สวนพระนิเทศ,หลังวิทยาลัยพยาบาล,หลังอาชีวะ,ตลาดรถไฟ) จำนวน 61 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,214.41 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่พบผู้ป่วยสะสมไข้เลือดออกเยอะที่สุดในเขตเทศบาลนครสงขลา และมีแนวโน้มการระบาดของโรคที่มากขึ้นและกระจายไปทุกพื้นที่ทั้ง 11 ชุมชน จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในส่วนรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคี ในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ทางอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคติดต่อใน 11 ชุมชนในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ ในชุมชน
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าร่วม BIG CLEANING ร้อยละ 90
90.00
2 2. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดต่อในชุมชน
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (House Index : HI) < 10 (< 10%)
10.00
3 3. เพื่อลดจำนวนการป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชน
  1. จำนวนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (< 15)
15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมรณรงค์กำจัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย BIG CLEANING ในชุมชน ทุก 3 เดือน(3 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 34,180.00            
รวม 34,180.00
1 กิจกรรมรณรงค์กำจัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย BIG CLEANING ในชุมชน ทุก 3 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 34,180.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 20 13,200.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าโทรโข่งประชาสัมพันธ์ 0 2,480.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำรายงานสรุปโครงการ / ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ 0 2,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าจัดทำสื่อให้ความรู้ 0 5,500.00 -
5 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุและอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 0 11,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทั้ง 11 ชุมชน มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคอื่น ๆ ลดลง
    1. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
  2. ทำให้สามารถลดอัตราป่วย ไม่มีรายงายผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 13:57 น.