กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 2500 วัน เเรกของชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมนมแม่เทศบาลตำบลท่าเสา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัมพร ศักดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม
ผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาที่ดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์จำนวนทั้งหมด 16 คน มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 ,หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวนทั้งหมด 14 คน ได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ซึ่งเป้าหมายกำหนดไว้ ร้อยละ 75 , 75 และ 75 ตามลำดับ ( HDC : 30 กันยายน 2566)ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จำนวนทั้งหมด 27 คน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 85.19 ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กด้วย DSPM ตามกลุ่มวัยจำนวนทั้งหมด 183 คน ได้รับการคัดกรองจำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 90.71ตรวจพัฒนาการเด็กพบสงสัยล่าช้า จำนวน 26 คน ส่งต่อทันที 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 18.07 (เป้าหมาย ร้อยละ 20 )( HDC : 30 กันยายน 2566) จากสถานการณ์ดังกล่าว พบว่างานพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก เป็นงานที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ โดยจะต้องมีกระบวนการดูแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และการดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กมีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และจำเป็นต้องมีกระบวนการบูรณาการ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนาและอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัวจึงจัดทำโครงการโครงการมหัศจรรย์ 2,500 วัน แรกของชีวิต สู่ครอบครัวคุณภาพ เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก แม่เกิดรอดลูกปลอดภัย และเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำนมแม่ตำบลท่าเสาในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี

 

100.00
2 2.เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในการดูแลส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างสมวัย

 

80.00
3 3.เพื่อจัดตั้งภาคีเครือข่ายอนามัยแม่และเด็กและขับเคลื่อนนโยบายมหัศจรรย์ 2,500 วัน แรกของชีวิต ในตำบลท่าเสา

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,925.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 29 ธ.ค. 66 เสนอเเผนงาน 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อเเม่ 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ 0 0.00 -
1 - 29 ก.พ. 67 เเต่งตั้งคณะกรรมการ 0 4,925.00 -
1 ก.พ. 67 - 29 มี.ค. 67 จัดอบรม 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำนมแม่มีความรู้ในการดูแลและให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์และสามารถใช้สมุด DSPM ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นได้ 2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ สมุด DSPM ในการประเมินพัฒนาการให้กับบุตรหลานในเบื้องต้นได้ 3. เกิดภาคีเครือข่ายอนามัยแม่และเด็กและขับเคลื่อนงาน 2,500 วัน สู่มาตรฐานบริการที่มีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.