กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ประจำปี 2567 รพ.สต.เขาไพร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาส
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดำเนินงานการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ในกลุ่มเด็กปฐมวัย โดยร่วมกันผลักดันการดำเนินงานในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป้าหมาย ในระดับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเป้าหมายการบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง จึงเกิดความร่วมมือของผ่านภาคีเครือข่ายในการยกระดับ  การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เป็น มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน โดยมุ่งเน้นให้การดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึงเด็กอายุ 5 ปี
โดยขับเคลื่อนงานผ่านกลไก “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน” ซึ่งเป็นกลไกที่มุ่งหวังให้เกิด การบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่เป็นรูปธรรม ในการร่วมดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และการได้รับสวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยทุกคนในตำบล เพื่อให้เด็กปฐมวัยไทย มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพพัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับประเทศไทยในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการที่ดี

 

2 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

 

3 เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

4 เพื่อให้เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักดี ไม่ตกเกณฑ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ผ่าน กิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า โดยเน้นเรื่องโภชนาการ และการพัฒนาการของเด็ก
  2. สร้าง Health Literacy เรื่องวิตามินธาตุเหล็ก
  3. คัดกรองภาวะ Hight Risk ในหญิงตั้งครรภ์
  4. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และติดตามการกินยา Triferdine และติดตามการได้รับวัคซีนของเด็กเพื่อให้ได้ครบตามเกณฑ์
  5. สนับสนุนนมจืด 90 วัน 90 กล่อง แก่หญิงตั้งครรภ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็กแรกเกิด ผ่านกลไกการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน โดยมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม และมีคุณภาพทั้งระบบบริการสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
  2. หญิงตั้งครรภ์ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและเด็กได้อย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามบริบทพื้นที่ โดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 15:32 น.