กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการ
รหัสโครงการ 67-L4121-0124
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านละหาด
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวอาซียะห์ กมาลอดิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านจุโป ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.102,101.384place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 20,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล เด็กวัยเรียนกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนา และกำลังพัฒนา จากการศึกษาเรื่องความชุกของปัญหาทุพโภชนาการจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2560 พบว่า เด็กวัยเรียนของไทย เมื่อคำนวณจากสถิติเฉลี่ยรุ่นหนึ่งมีประมาณ 4.1 ล้านคน มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 10.24 คิดเป็น 4.2หมื่นคน เตี้ยร้อยละ 5.32 คิดเป็น 2.2 หมื่นคน ผอมร้อยละ 4.93 คิดเป็น 1.7 หมื่นคน พบปัญหาโรคอ้วน
จากสถานการณ์การเฝ้าระวังภาวการณ์เจริญเติบโตของนักเรียนโรงเรียนบ้านจุโป 2567 เด็กที่ชั่งน้ำหนัก จำนวน 50 คน พบว่า เด็กนักเรียนมีภาวะเตี้ยร้อยละ 9.23 เริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 15.38 ผอมร้อยละ 15.38 พบปัญหาเด็กมีภาวะเตี้ย และอ้วน ตามลำดับ เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขระดับประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก สื่อโฆษณาต่างๆ และร้านอาหารต่างๆ การขาดวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รู้จักเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ ไม่รู้คุณค่าของเงิน และขาดการออกกำลังกาย เด็กเหล่านี้รวมทั้งผู้ใหญ่ในครอบครัวจึงมีปัญหาโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพในเด็กอ้วนเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน หอบ และความดันโลหิตสูง ทั้งที่ควรจะเป็นโรคในวัยผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันปัญหาทุพโภชนาการที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานไม่เพียงพอกับความต้อง การ ทำให้เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาโภชนาการทั้งที่ขาดและเกิน เพื่อทำให้เด็กทุกคนดูดี มีพลานามัย จึงต้องส่งเสริม โภชนาการทั้งที่ตัวเด็ก และในโรงเรียนไปพร้อมๆ กัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กให้นักเรียนดูดี มีพลานามัย

 

2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียน มีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 โครงการส่งเสริมโภชนาการ(18 เม.ย. 2567-18 เม.ย. 2567) 20,000.00            
รวม 20,000.00
1 โครงการส่งเสริมโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 20,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 50 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการ ที่นำมาซึ่งการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสม
  2. เด็กนักเรียนมีวินัยในการรับประทาน การใช้เวลา และการใช้เงินอย่างคุ้มค่า
  3. เพื่อลดปัญหาโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการเกิน : โรคอ้วน, เบาหวาน, หัวใจ, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ในระยะยาว เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก : พัฒนาการ (IQ) สูงขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 16:50 น.