กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ไพล สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ ปี 2567
รหัสโครงการ L6959-2567-1-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ ฮาแวมาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในพื้นที่ตำบลลุโบะสาวอ มีผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อหลายราย โดยเฉพาะวัยกลางคน ซึ่งเป็นวัยทำงาน อาจมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ หรือมากเกินไปจากการทำกิจกรรมประจำวัน แต่ในบางครั้งอาการปวดก็อาจเป็นผลมาจากโรค อาการ หรือยาเช่นกัน ในปี 2566 โดยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ผู้ที่มารับการรักษาด้วยปัญหาอาการปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่แล้วจะมารับยาเพื่อบรรเทาอาการปวดอย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตด้อยลง ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การรับประทานยา การฉีดยา และการผ่าตัด เป็นต้น โดยวิธีทั่วไปขั้นแรกของการรักษาจะเป็นการทำท่าบริหาร ลดการใช้งานร่วมกับการรับประทานยาแก้ปวดหรือกลุ่มต้านการอักเสบ ในส่วนของแพทย์แผนไทยนั้นปัจจุบันได้รับการสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีการทำวิจัยเกี่ยวกับการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้ออยู่ค่อนข้างเยอะพอสมควร ซึ่งสามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาไปนานๆ การรักษาทางแพทย์แผนไทยนั้นในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งการนวดบำบัด ประคบสมุนไพร การทำท่ากายบริหารเพื่อบรรเทาอาการปวด และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ รวมถึงการใช้น้ำมันไพลซึ่งเป็นสมุนไพรท้องถิ่น ที่มีสรรพคุณลดอาการปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก โดยการนำมาทาถู นวด บริเวณที่มีอาการ เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้สมุนไพรท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและควรได้รับการดูแลด้านการส่งเสริม ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพที่เหมาะสม มีประสิทธิผล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ไพล สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายก็คือผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ จำนวน 60 คน เพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่ สามารถใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามให้แก่คนรุ่นหลังได้ยกย่องสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ร้อยละของประชาชนที่เข้าอบรม มีความรู้เรื่องการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

0.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความสนใจเรื่องการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค

ร้อยละของประชาชนที่เข้าอบรม มีความรู้ ความสนใจเรื่องการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค

0.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,500.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อกับศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย 0 8,500.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 การสาธิตวิธีการทำน้ำมันไพลเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1)ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องอาการปวดกล้ามเนื้อทางศาสตร์การแพทย์แผนไทย 2)ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดกล้ามเนื้อ มีความรู้เรื่องการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ 3)กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดกล้ามเนื้อลดลงหลังการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 4)สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ในชุมชนหรือผู้ที่สนใจการทำน้ำมันไพลเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 12:36 น.