กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5214-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรวรรณ ทับทิมทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.163,100.542place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด โดยมีการใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐานในการค้นหา ชักชวน และร่วมดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติด ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่/บริบทของพื้นที่ที่เหมาะสม โดยการนำรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน(Community Treatment:CBTx) มาดำเนินการไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการแก้ไขยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) เป็นการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดกการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการ ตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง บำบัดฟื้นฟู การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือสังคม ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนและชุมชนจะเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดนชยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) ตำบลเกาะยอ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) เพื่อให้ผู้ยาเสพติดได้รับการพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ตลอดจนได้รับการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถลด ละ เลิก ยาเสพติดได้และส่งคืนคนดีกลับสู่สังคมต่อไป วิธีดำเนินการ
แนวคิด CBTx เป็นการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่องทั้งการฟื้นฟูทางการแพทย์และทางสังคม โดยใช้ศักยภาพและความร่วมมือของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตามบริบทและวิถีของชุมชนนั้น ๆ โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ 1)จัดตั้งทีมงานหรือชุปฏิบัติการประจำตำบล เพื่อจัดทำแผนแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงให้คำปรึกษา/คำแนะนำ พร้อมชักชวนให้ผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือการดูแลในชุมชน 2)ทีมงานหรือชุดปฏิบัติการประจำตำบล ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/สถานพยาบาล ให้การดูแลฟื้นฟูภายในชุมชนตามแนวทางที่สาธารณสุขกำหนด เช่น การจัดทำกิจกรรมกลุ่ม การให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการดูแลตนเอง การเสริมสร้างกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพฤตินัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม 3)ทีมงานหรือชุดปฏิบัติการประจำตำบลกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือเชิงสังคม เช่น การจัดสถานที่ในการฝึกอาชีพ การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ เป็นต้น 4)รายงานผลดำเนินงานในระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด (NISPA) ของสำนัก ป.ป.ส. และระบบข้อมูลบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ของกระทรวงสาธารณสุข (ในกรณีที่ส่งต่อบำบัดในสถานพยาบาลหรือศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) รวมถึงความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานในที่ประชุม ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ) และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ (ศป.ปส.อ.)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดของผู้ป่วยยาเสพติด

ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น

80.00
2 ฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในหมู่บ้าน ให้สามารถลด ละ เลิกยาเสพติด

ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดในหมู่บ้านสามารถลด ละ เลิกยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น

80.00
3 ให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในเชิงสุขภาพและสังคม

ร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการดูแลในเชิงสุขภาพและสังคมทุกคน

80.00
4 เพื่อนำครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติด

ร้อยละของครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดทุกคน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 1 การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดภายในหมู่บ้าน แบบไปกลับ(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 15,770.00                
2 กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือชุมชนในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด(1 ก.พ. 2567-30 ก.ย. 2567) 4,030.00                
รวม 19,800.00
1 กิจกรรมที่ 1 การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดภายในหมู่บ้าน แบบไปกลับ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 15,770.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดภายในหมู่บ้าน แบบไปกลับ 10 15,770.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือชุมชนในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 4,030.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือชุมชนในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด 10 4,030.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ใช้ยาเสพติดในพื้นที่ตำบลเกาะยอ ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมและสามารถอยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้โดยไม่ทำให้เดือดร้อน   2.ผู้ใช้ยาเสพติดมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถลด ละ เลิกยาเสพติดได้ และไม่กลับไปมีพฤติกรรมเสพติดซ้ำ   3.สามารถช่วยเหลือผู้เสพติดที่ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่ยังคงอาศัยอยู่ในชุมชนได้มีโอกาสรับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 15:38 น.