กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับสภาวะทางอารมณ์
รหัสโครงการ L5300-67-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพ อุบลพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นกลุ่มที่เปราะบางต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดได้ง่าย จึงต้องจัดกิจกรรมพัฒนาให้ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อให้แข็งแรงปรับสภาวะอารมณ์ให้ร่าเริงเบิกบาน จึงได้เสนอโครงการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับสภาวะอารมณ์ด้วยการออกกำลังกายไทเก็ก 24 ท่า ลักษณะเด่นของไทเก็กคือการออกกำลังกายที่กำหนดจังหวะการหายใจเข้าหายใจออก โดยหายใจเข้าทางจมูกยาวลึกและกลั้นไว้ประมาณ 5-9 วินาที หายใจออกทางปากลึกยาวให้ท้องแฟบเป็นการเพิ่มออกซิเจนในกระแสลือด การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆนิ่มนวลต่อเนื่องและไม่ทำให้เหนื่อยหอบ ช่วยให้ระบบกาเผาผลาญมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การฝึกไทเก็กอย่างถูกต้องเป็นประจำจะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งกล้ามเนื้อส่วนบน กล้ามเนื้อกลาง กล้ามเนื้อแกนกลางของหน้าท้องและแผ่นหลัง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่น ความคล่องงตัวให้แก่ผู้ฝึก ข้อต่อต่างๆก็จะมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ขัด พัฒนาการทรงตัวลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุอาจหกล้มได้ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดหลัง ลดความดันโลหิต ส่งผลดีต่อสภาพหัวใจ ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ช่วยเพิ่มสมาธิ มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ผ่อนคลามความเครียดเนื่องจากการออกกำลังกายแบบไทเก็กจิตผู้ออกกำลังกายกำหนดอยู่ที่ลมหายใจจิตจึงเป็นสมาธิ พัฒนาอารมณ์ ผู้ที่ฝึกไทเก็กเป็นประจำสามารถลดอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าได้ช่วยให้หลับสบาย หรือนอนหลับได้ง่ายขึ้น ปรับสภาวะอารมณ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล เสริมระบบความจำสำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ลดอาการของโรคพาร์กินสัน สามารถฝึกการทรงตัวด้วยตัวเองได้ ฝึกการทำงานของระบบประสาท ไทเก็กสามารถช่วยผู้ป่วยอัมกฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่มีมีปัญหาด้านการทำงานของระบบประสาท ได้ฝึกให้ระบบประสาททำงานสัมพันธ์กันมากขึ้น
        สมาคมไทเก็กภาคใต้ ได้เห็นความสำคัญของไทเก็ก ๒๔ ท่า จึงให้ชมรมไทเก็กภาคใต้ทุกชมรมออกกำลังกายด้วยไทเก็ก ๑ ไทเก็ก ๒ และไทเก็ก ๒๔ ท่า ทุกปีในงานมหกรรมไทเก็กภาคใต้ ซึ่งไทเก็กจัดงานมหกรรมทุกปีหมุนเวียนไปทุกจังหวัดแล้วแต่จังหวัดไหนเป็นเจ้าภาพศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุดได้เข้าร่วมมหกรรมไทเก็กภาคใต้ทุกปีแต่ยังไม่ได้ฝึกไทเก็ก ๒๔ ท่า ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด ได้ศึกษาค้นคว้าถีงประโยชน์ของไทเก็ก ๒๔ ท่า จึงได้เขียนโครงการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับสภาวะทางอารมณ์ด้วยไทเก็ก ๒๔ ท่า เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนประชาชนผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

ร้อยละของผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 32,000.00 0 0.00
29 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 กิจกรมรณรงค์ให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายด้วยไทเก็ก ๒๔ ท่า 70 32,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 09:38 น.