กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 29,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีสน รัษฎาปริวรรต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤตกรรมที่ไม่เหมาะสมจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางไต เท้า สมองและหัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะและความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคล และอาจมีอายุสั้นกว่าปกติถ้าไม่ได้รนับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศและค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจ ดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียดและการใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้     ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแล ป้องกัน เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ การดูแลรักษาและการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้ถูกต้อง เหมาะสม

2 2. เพื่อค้นหา คัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนครบทุกรายและในรายที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ   1.ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ   2.ร่างแบบเขียนโครงการเพื่อนำเสนอ   3.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   4.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร   5.มอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน   6.ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผู้นำชุมชน อสม.   7.ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน อสม.ทุกหมู่บ้าน   8.ประชุมทีมงานเพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นดำเนินการ   1.ดำเนินกิจกรรมช่วงเดือน ตุลาคม 2566 - กันยายน 2567 โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 90 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 90 คน รายละเอียดกิจกรรมดังต่อไปนี้       1.1.ลงทะเบียน       1.2.ให้ความรู้เรื่องโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของโรคเรื้อรัง       1.3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรค โดยเน้น 3อ.2ส.       1.4.การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขั้นประเมินผล
  1. นำผลการติดตามไปใช้พัฒนารูปแบบ วิธีการของโครงการที่จะดำเนินการในโครงการต่อไป   2. นำปัญหาในโครงการครั้งนี้มาแก้ไข และปรับปรุงเพื่อจะดำเนินการในโครงการครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนครบทุกรายและในรายที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ การดูแลรักษาและการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 14:09 น.