กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันสวยยิ้มใสเพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียนตาดีกา มัสยิดดารุลอีบาดะห์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดดารุลอีบาดะห์
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะหะหมาด ยุเหล่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนในช่วงอายุ 6-12 ปี เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน และปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้ว ยังมีผลการะทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดีและการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ ปัญหาทันตสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ  ช่องปากที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงทัศนคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขป้องกันได้ ด้วยเหตุนี้ ทาง มัสยิดดารุลอีบาดะห์ ได้เล็งเห็นความสำคัญ เพื่อให้เด็กนักเรียนตาดีกามีความเข้าใจและทัศนคติที่ดี ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปาก จึงได้ร่วมกันจัดโครงการนี้ขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและเหมาะสม มากกว่าครึ่งของเด็กวัยเรียนพบปัญหาฟันผุและเหงือกอักเสบ โดยปัญหาเหงือกอักเสบมีแนวโน้มเพิ่ม มากขึ้น ข้อมูลจากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศในปี 2560 กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ได้รับ การตรวจฟัน ร้อยละ 84.7 มีปัญหาฟันถาวรผุ ร้อยละ 52 เหงือกอักเสบ ร้อยละ 66.3 โดยพบว่ามีฟันผุ ที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 31.5 มีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 21 มีการสูญเสียฟัน ร้อยละ 3 เคยปวดฟัน ร้อยละ 36.7 และเคยหยุดเรียนเพราะไปทำฟัน ร้อยละ 12.2 เด็กที่มีฟันผุสูงจะมีความสัมพันธ์กับผลการเรียน ที่ไม่ดี และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เด็กอายุ 12 ปีมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ ไม่เหมาะสม เช่น แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันร้อยละ 13.3 ไม่บริโภคขนมกรุบกรอบร้อยละ 7.6 ไม่ดื่มน้ำอัดลมทุกวัน ร้อยละ 18.9 พฤติกรรมการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์มีแนวโน้มลดลง หากไม่ได้รับ การปลูกฝังพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีตั้งแต่ในวัยเด็กจะมีความเสี่ยงร่วมต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในวัยผู้ใหญ่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมป้องกันและรักษาโรคฟันแท้ผุในชั้นประถมศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นเพื่อลดการสูญเสียฟัน ในสถานการณ์ปัจจุบันยังคงพบขนมหวานที่มีน้ำตาลสูงหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไปหรือในสหกรณ์ โรงเรียน ขนมถูกจัดวางในบริเวณที่หยิบได้ง่าย ราคาไม่แพง การไม่มีแปรงสีฟันและยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ขายในโรงเรียน ความนิยมใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ การไม่มีสถานที่แปรงฟันในโรงเรียน หรือแม้แต่ไม่มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่เพียงพอในโรงเรียน/ชุมชน การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างเป็นระบบในโรงเรียน ประถมศึกษาลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ โดยพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ที่พึงประสงค์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในช่องปาก มี 4 เรื่อง ได้แก่ 1) พฤติกรรมการใช้ยาสีฟันผสม ฟลูออไรด์ โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ถือเป็นการดูแลตนเองที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เป็นวิธี ที่ประหยัดและได้ผลในการลดฟันผุถึง ร้อยละ 24 ซึ่งต้องแปรงฟันอย่างน้อย 2 นาที เพื่อให้ฟลูออไรด์สัมผัส ผิวฟันนานเพียงพอในการป้องกันฟันผุ 2) ความถี่ในการแปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพในการ ป้องกันฟันผุ 3) พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มหวาน ซึ่งจำนวนและความถี่มีความสัมพันธ์กับการเกิด ฟันผุ ความถี่ในการบริโภคอาหารเสี่ยงฟันผุบ่อยจะทำให้เกิดกรดมาทำลายฟัน และ 4.พฤติกรรมการไปพบ ทันตบุคลากร ซึ่งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ดังกล่าวของเด็กวัยเรียนในปี 2563 มีแนวโน้มลดลง เด็กวัยเรียน แปรงฟัน 222 เพียงร้อยละ 9.5 เด็กวัยเรียนส่วนใหญ่พบคราบจุลินทรีย์ปริมาณมากเกาะที่ผิวฟัน เมื่อขูดคราบ จุลินทรีย์ออกจะพบผิวฟันเป็นรอยผุระยะเริ่มต้นร่วมกับพบมีการอักเสบของเหงือก ปัญหาดังกล่าวหากไม่มี มาตรการที่มีคุณภาพในการลดและป้องกันโรคจะส่งผลให้เกิดความรุนแรงของโรคในวัยผู้ใหญ่ต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนตาดีกามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการดูแลสุขภาพในช่องปาก เหงือกและฟันที่ถูกต้อง

หลังการอบรม  นักเรียนตาดีกามีความรู้  ความเข้าใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 เพื่อให้นักเรียนตาดีกา ได้รับการตรวจ ดูแลสุขภาพช่องปาก และบริการทางทันตกรรมที่จำเป็น

นักเรียนตาดีกา ได้รับการตรวจ ดูแลสุขภาพช่องปาก และบริการทางทันตกรรมที่จำเป็น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้นักเรียนตาดีกามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการดูแลสุขภาพในช่องปาก เหงือกและฟันที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้นักเรียนตาดีกา ได้รับการตรวจ ดูแลสุขภาพช่องปาก และบริการทางทันตกรรมที่จำเป็น

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. กิจกรรมบรรยายอบรมให้ความรู้ทักษะการดูแลสุขภาพในช่องปาก เหงือกและฟันที่ถูกต้อง
  2. กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนตาดีกามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการดูแลสุขภาพในช่องปาก เหงือกและฟันที่ถูกต้อง
  2. นักเรียนตาดีกา ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก สามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมที่จำเป็นเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 15:23 น.