กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ในเขตพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข และศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ในเขตพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข และศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ
รหัสโครงการ L7250-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 239,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวสุธิดา นนทพันธ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.204461,100.597891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์โรควิถีชีวิตในประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะ ๕ โรคสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ รักษายาก และไม่หายขาด ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่
ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง มีร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านขายน้ำหวาน ร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีผู้สงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่ม ทำให้สำนักระบาดวิทยาต้องดําเนินการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ๕ โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2566 ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,843 คน แยกเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 266 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,045 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 532 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา 175 คน และอีก 1,668 คน รับยาที่โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ
และคลินิก ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,514 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 118 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 932 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 312 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา 208 คน และอีก 1,457 คน รับษาที่โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ และคลินิก ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,528 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 145 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 983 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 400 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 185 คน และอีก 1,343 คน รับยาที่โรงพยาบาลสงขลา,โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ และคลินิก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้ง 3 หน่วยบริการ จะต้องได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตวาย จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินผู้ป่วยเรื้อรัง-ติดเตียง-ผู้พิการ-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยเรื้อรังระยะท้าย ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค และลดภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจ ไตวาย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะท้าย ได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

80.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสามารถควบคุมโรคเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม

2.ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเรื้อรังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

80.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับแกนนำสุขภาพ

3.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพมีความรู้และทักษะในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมที่ 1 งานภาคประชาชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน(3 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 36,000.00            
2 กิจกรรมที่ 2 งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ(3 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 172,800.00            
3 กิจกรรมที่ 3 สร้างความตระหนักรู้ในการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและแกนนำสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง(3 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 30,360.00            
รวม 239,160.00
1 กิจกรรมที่ 1 งานภาคประชาชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 36,000.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 36,000.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 540 172,800.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารเช้า 60 10,800.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 5,400.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 60 10,800.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 7,200.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดฐาน 0 9,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าโปสเตอร์โฟมบอร์ดความรู้โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ 0 10,800.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าแฟ้มใส่เอกสารประวัติการตรวจรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง 180 21,600.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าสติกเกอร์เตือนใจ รู้ไว ไปเร็ว ปลอดภัย จากโรคหลอดเลือดสมองติดที่บ้านผู้ป่วย 0 54,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่านวัตกรรมกระเป๋าผ้ากันลืม 180 43,200.00 -
3 กิจกรรมที่ 3 สร้างความตระหนักรู้ในการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและแกนนำสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 30,360.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องวัดความเค็มในอาหารแบบพกพา (Salt Meter) 0 12,360.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องตรวจวัดความเค็มในปัสสาวะ KME-03 0 18,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยเรื้อรัง-ติดเตียง-ผู้พิการ-ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะท้าย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและควบคุมโรคเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม 3.นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดกับปฏิบัติให้กับคนอื่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:22 น.