กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8402-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 57,582.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบ จันทสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยเกิดจากยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งเดิมเชื่อว่าโรคไข้เลือดออก มักจะระบาดในฤดูฝนเนื่องจากมีน้ำขังมากซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย แต่ปัจจุบันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้เกิดการระบาดตลอดปี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มีตัวยารักษา การรักษาจึงทำได้เพียงรักษาตามอาการ และโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดได้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยจะส่งผลให้เกิดการรั่วของพลาสม่าเข้าในช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องท้อง ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้เกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย โดยอาจทำให้เกิดภาวะช๊อคและอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด และเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น ไม่เพียงแต่เกิดผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น ยังส่งผลเสียทางด้านเศรษฐกิจ เช่นการต้องหยุดงานขาดรายได้ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เข้าออกโรงพยาบาลฯลฯ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งโรคหนึ่ง จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 มิถุนายน 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 5- 14 ปี ในส่วนของจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 333 ราย และจากข้อมูลระบาดวิทยา ย้อนหลัง 3 ปี ในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ มีดังนี้ ปีพ.ศ. 2563 - 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 8, 3, 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.07, 0.02 ,0.02 ต่อแสนประชากร สำหรับปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –  13 มิถุนายน มีจำนวนผู้ป่วย 7 ราย อัตราป่วย 0.06 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยในแต่ละปีมีอัตราที่ไม่คงที่ลดลงและเพิ่มขึ้น จึงควรเร่งดำเนินการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประกอบกับตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามมาตรา ๕๐ กล่าวว่าเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
ดังนั้น การดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ด้วยโรคไข้เลือดออกปัจจุบันได้เป็นโรคประจำถิ่นและสามารถเกิดการระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยยังเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงสามารถส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้ และส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสภาพจิตใจแก่ประชาชนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ ได้ตระหนักถึงความรุนแรงและอันตรายจากโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคและแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามข้างต้น เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลคูหาใต้

มีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลคูหาใต้

80.00
2 เพื่อลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

มีลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

80.00
3 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด บ้านและชุมชน จัดกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

มีรณรงค์ส่งเสริมให้โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด บ้านและชุมชน จัดกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค
        ๑.๒ ติดต่อประสานงานส่วนราชการ รพ.สต.ในพื้นที่ อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เกี่ยวข้องเพื่อ     ดำเนินการโครงการฯ         ๑.๓ เขียนโครงการฯเพื่ออนุมัติจากผู้บริหาร 1.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการฯ ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑ จัดประชุมคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าเทศบาล, เจ้าหน้าที่จากทุก รพ.สต.ในพื้นที่,  อสม. และผู้นำชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนการพ่นหมอกควันในแต่ละหมู่บ้าน พร้อมแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก และให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ๒.๒ มอบสารเคมีในการกำจัดลูกน้ำยุงลายแก่ รพ.สต.ในพื้นที่ และ อสม. เพื่อใช้ในควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๒.๓ จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุลูกน้ำยุงลาย การให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อเป็นการกระตุ้น สร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก พร้อมถึงให้ความรู้ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยจัดการให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางดังนี้   - ทางโซลเชี่ยลมีเดียของเทศบาล อาทิ เฟสบุ๊ค กลุ่มไลน์ต่างๆ   - ประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายของเทศบาล หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน (ทุกวันศุกร์ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ)
            - ประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุชุมชนเกาะบก คลื่นความถี่ FM 101.00 MHz (ทุกวันพุธตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ)

          ๒.๔ เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกโดยการสำรวจหาค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัด (เดือน ส.ค. และ ก.ย.) และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ๒.๕ ดำเนินการพ่นหมอกควันฆ่ายุงลายตัวเต็มวัย และมุ่งเน้นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยทางกายภาพ (กรณีป้องกันการเกิดโรค) แก่ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ตำบลคูหาใต้ ๒.6 ดำเนินการพ่นหมอกควันฆ่ายุงลายตัวเต็มวัย และมุ่งเน้นการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยทางกายภาพ (กรณีป้องกันการเกิดโรค) แก่ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และชุมชน ๒.7 มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชน โดยให้ อสม.เป็นแกนหลักในการเฝ้าระวัง โดยมีระบบการเฝ้าระวังโรคในพื้นเขตหลังคาเรือนที่ อสม. เป็นผู้รับผิดชอบ โดยแจ้งผ่าน รพ.สต.ในแต่ละเขต และประสานกับทางเทศบาลตำบลคูหาใต้ ในการร่วมลงพื้นที่เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค ๓. ขั้นประเมินผล (หลังดำเนินการ) ๓.๑ สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการฯ และประเมินผลโครงการฯ ๓.๒ สรุปปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินงาน พร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตลอดปี โดยมีค่า HI และ CI ในแต่ละหมู่บ้านไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ๒. ค่า CI ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ๓. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลคูหาใต้ ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  (ตามเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุข) ๔. ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลคูหาใต้ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 15:06 น.