กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 17,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชลาลัย ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญปัญหาหนึ่ง จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ.2567 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567-29 มกราคม 2567) มีผู้ป่วยสงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอเมืองสตูล จำนวน 13 ราย เป็นเพศหญิง 7 ราย เพศชาย 6 ราย และผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในตำบลคลองขุดจำนวน 6 ราย
การเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทำให้เป็นภาระของครอบครัว มีผลต่อการเรียน การทำงาน และค่าใช้จ่ายในการให้บริการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจมีผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร แม้ว่าทางการแพทย์และสาธารณสุขจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาโรค รวมไปถึงเทคโนโลยีและวิธีการป้องกันและควบคุมโรค แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หมดไปได้ และยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้นมีวิธีการหลากหลายวิธี แต่วิธีที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุด คือการใช้สารเคมี ซึ่งให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีอาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และเมื่อใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งลำพังการรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะของโรค ตามอาคารบ้านเรือน เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ การป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี โดยไม่ให้ถูกยุงลายกัด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ยิ่งกว่า โดยเฉพาะการนำพืชสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันยุงลาย ยังส่งผลดีต่อผู้บริโภคและเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ข้อดีคือสามารถไล่ยุงได้ ทำมาจากสมุนไพรธรรมชาติที่ชาวบ้านรู้จัก และนิยมปลูกเพื่อใช้ไล่ยุง ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยสเปรย์ตะไคร้หอมสมุนไพรไล่ยุง หมู่ที่ 4 บ้านคลองขุด โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของผู้ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกลดลง

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 17,920.00 0 0.00
29 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการควบคุมโรคไข้เลือดออก และการทำสมุนไพรกำจัดลูกน้ำมาใช้ในชุมชน 50 17,920.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=O) ในชุมชนสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน ให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐) ผลลัพธ์ ๑. อัตราการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะลดลง ๒.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2567 15:12 น.