กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L4141-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 19,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 7 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2560 โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพบว่ากลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอนอุด 1.4 ซี่ ต่อคน มีภาวะเหงือกอักเสบ 66.3% จะเห็นได้ว่าเด็กไทยกว่า 50% มีปัญหาฟันผุ และมากกว่า 60 % ของผู้ใหญ่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนและครูจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง อีกทั้งเพื่อพัฒนาชมรมเด็กไทยฟันดี ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนแกนนำมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ฝึกทักษะและแปรงฟันที่ถูกวิธี และทำให้เกิดโรคฟันผุน้อยลงซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบในช่องปากและเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปากต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของนักเรียนทราบถึงบทบาทแกนนำนักเรียนด้านทันตสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกต้องและตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้น

ร้อยละ 90 ของนักเรียนแกนนำ สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในกลุ่มเพื่อน และครอบครัวได้

3 เพื่อให้เกิดชมรมเด็กไทยฟันดีในโรงเรียนและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนประถมศึกษามีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกต้องและตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้เกิดชมรมเด็กไทยฟันดีในโรงเรียนและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 42.00 19,140.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง 2.มีการจัดตั้งชมรมเด็กไทยฟันดีในโรงเรียนประถมศึกษา 3.นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอดความรู้ด้านทันตสุขภาพและขยายผลไปยังกลุ่มเพื่อนนักเรียนได้ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 10:55 น.