กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย
รหัสโครงการ 67-L3329-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 3,976.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสินีนารถ หลำสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภค และบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอัตราย อาหารมีสารปนเปื้อนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด ได้ลงสำรวจร้านชำในพื้นที่เขตรับผิดชอบของ ทต.ควนเสาธง มีจำนวนทั้งหมด 22 ร้านชำ โดยแบ่งออกเป็น หมู่ที่2 จำนวน 4 ร้าน หมู่ที่ 4 จำนวน 5 ร้าน หมู่ที่7 จำนวน 4 ร้าน และหมู่ที่ 8 จำนวน 9 ร้าน ซึ่งได้เล็งเห็นว่าการพัฒนาร้านขายของชำในหมู่บ้านจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้ และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้านขายของชำได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภค และบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้ และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ประกอบการร้านชำ และตัวแทนภาคประชาชน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง

ผู้ประกอบการร้านชำ และตัวแทนภาคประชาชน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ร้อยละ 80

2 ผู้ประกอบการร้านชำ และตัวแทนภาคประชาชน มีความเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการใช้ยา และทราบบทลงโทษทางกฎหมาย เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่นำยาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน ยาอัตราย มาจำหน่ายในร้านชำในชุมชน

ผู้ประกอบการร้านชำ และตัวแทนภาคประชาชน มีความเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการใช้ยา และทราบบทลงโทษทางกฎหมาย เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่นำยาชุด ยาปฏิชีวนะ ยาลูกกลอน ยาอัตราย มาจำหน่ายในร้านชำในชุมชน ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนที่1 จัดทำแผนโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.ควนเสาธง
ขั้นตอนที่2 ประชุมชี้แจงรายละเอียดแก่คณะทำงาน ขั้นตอนที่3 ประฃาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ ขั้นตอนที่4 ดำเนินการตามโครงการ       4.1 ประเมินความรู้ก่อนได้รับการอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการ       4.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ และตัวแทนภาคประชาชน เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่ปลอดภัย แนะนำการเลือกซื้อ เลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์       4.3 ประเมินความรู้หลังได้รับการอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการ ขั้นตอนที่5 ประเมินโครงการและรายงานผลการจัดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย มีภูมิคุ้มกัน มีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ร้านขายของชำในหมู้บ้านให้มีการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพส่งผลให้ผู้บริโภคในพื้นที่ใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 10:36 น.