กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวตาเซะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเซะ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุไลมาน มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.253place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 31 ส.ค. 2567 9,900.00
รวมงบประมาณ 9,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559) ฉบับนี้ มีเป้าหมายทำงานเชิงรุก และ ต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสมประโยชน์ มีพฤติกรรมการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เพื่อให้สังคมมีสุขภาพดี พัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพ เพื่อการพึ่งพาตนเองได้ในการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำหรับประเทศไทยมีปัญหาจากการใช้ยาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง การเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การสั่งยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน การสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน ขนาดยาที่แพทย์สั่งใช้ต่ำหรือสูงเกินไป นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยยังขาดความรู้และมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง โดย 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังใช้ยาไม่ต่อเนื่อง และคิดว่าผู้ที่เป็นโรคเดียวกัน เช่น เบาหวาน / ความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งกินกันได้ กว่าร้อยละ 80 ไม่สามารถอ่านวันหมดอายุได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาขณะใช้ยา ในระดับครัวเรือนพบยาเหลือใช้จำนวนมาก ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ชมรมเภสัชชนบท ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ในจดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา “ยาวิพากษ์” ฉบับที่ 17 ของเมษายน-มิถุนายน 2556 พบว่าได้มีการสุ่มเก็บข้อมูลทั่วประเทศเมื่อปี2553 พบยาอันตรายหลายรายการที่เหลือใช้อยู่ตามบ้านเรือน เช่น ยา Amoxycillin ยา Tetracycline และยากลุ่ม NSAIDs นอกจากนี้ ยังพบยาที่มีความเสี่ยงในทุกครัวเรือน ได้แก่ ยาแผนโบราณที่ไม่มีทะเบียนต่างๆ แต่มีการบรรยายสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เช่น ลดความอ้วน เบาหวาน ไขมัน รวมไปถึงยังมียาลูกกลอน ที่ทดสอบแล้วพบสารสเตียรอยด์ ยาชุดหลายรายการ       นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ประชาชนมีความรู้จำกัด หรือ มีความรู้ไม่ถูกต้องในการเลือกซื้อและใช้ยา ไม่เห็นด้านที่เป็นอันตรายต่อการใช้ยา มีกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนโดยได้รับอิทธิพลจากแหล่งข้อมูลที่เสี่ยงต่อการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และข้อมูลจากการโฆษณา มีการใช้ยาตามวัฒนธรรมความเชื่อเดิมที่มักก่อให้เกิดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น เชื่อมโยงความแรงของยากับยี่ห้อ รูปแบบยา และแหล่งที่มาของยา มีการพลิกแพลงวิธีใช้ยาตามตรรกะที่คิดขึ้นเอง หรือใช้ยาตามประสบการณ์ และ คำบอกเล่า พฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน คือภาพสะท้อนของพฤติกรรมของระบบความไม่สมเหตุสมผลที่ปรากฏในพฤติกรรมของประชาชน จึงเป็นภาพสะท้อนของความไม่สมเหตุสมผลของระบบยาทั้งระบบ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ 1.ระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ยังเน้นการใช้ยาเป็นทางออกหลักในการแก้ปัญหา ยังขาดการส่งเสริมการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยที่ไม่ต้องพึ่งยา หรือแม้กระทั่งขาดการเน้นพิษภัยของยาให้เป็นที่ตระหนักในวงการวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข 2.ระบบยาของประเทศไทยยังมีความฟุ่มเฟือย มีการใช้ยาไม่จำเป็น แม้กระทั่งในระบบโรงพยาบาลของรัฐบาล ระบบยาและการใช้ยาที่เป็นอยู่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบ   3. ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลิตความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในสังคม ปัญหาความทุกข์ยาก ของประชาชนถูกแปลงโฉมจนกลายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยีของการแพทย์มาเยียวยารักษา (โกมาตรและคณะ2550, ยากับชุมชน)   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเซะ ร่วมกับงานคุ้มครองผู้บริโภคและงานบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลร่วมกับประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และ ความต่อเนื่องของการให้บริการประชาชนมีสุขภาพดี และมีดุลยภาพที่พอดีระหว่างการพึ่งตนเองกับพึ่งบริการ มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครัว และ ชุมชน ในการวางแผนการใช้ยาที่เหมาะสม และ สมเหตุสมผล เพื่อให้ได้ผลประโยชน์จากการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องหลักการใช้ยาอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 90

90.00
2 2. เพื่อสร้างความตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคยาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 90

90.00
3 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งและคุณภาพในด้านยาของประชาชน

ร้อยละ 90

90.00
4 4. ประชาชนเข้าใจถึงการดูแลตนเองเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยารวมถึงการป้องกันปัญหาจากการใช้ยา

ร้อยละ 90

90.00
5 5. เข้าใจถึงหลักการเลือกใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย

ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจและให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องหลักการใช้ยาอย่างถูกวิธี
  2. กลุ่มเป้าหมาย มีการตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคยาที่ถูกต้อง
  3. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้มแข็งและคุณภาพในด้านยาของประชาชน
  4. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจถึงการดูแลตนเองเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยารวมถึงการป้องกันปัญหาจากการใช้ยา
  5. กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจถึงหลักการเลือกใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 14:41 น.