กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพตำบลจำป่าหวาย
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 47,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พระครูสุวรรณปัญญาลังการและคณะทำงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ส.ค. 2567 47,550.00
รวมงบประมาณ 47,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนร้านค้าทั้งหมดในชุมชน 26 ร้าน
จำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย 8 ร้าน

30.76
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
7.69
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
0.00
4 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
20.55
5 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)
7.69

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาเร่งด่วนอันดับที่ 2 เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากกว่า 200 ชนิด และการเสียชีวิตของประชากรโลกมากกว่า 3.3 ล้านคนต่อปี สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากรายงานประจำขององค์การอนามัยโลกปี 2014 ระบุว่า ประเทศไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับที่ 78 ของโลก เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคน คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่าสุราคนละ 509 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,108 บาทต่อปี มีปริมาณการดื่มต่อนักดื่ม 23.8 ต่อลิตรต่อคนต่อปีและมีความชุกผู้ที่มีภาวะจากการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 4.9 สูงที่สุดในอาเซียน อีกทั้งยังเป็นพฤติกรรมเสี่ยง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคและการบาดเจ็บมากกว่า200 ชนิด มีโอกาสป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 216 เท่าทำให้เกิดโรคมากกว่า 60 โรค และจากการรายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยปี2556 พบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียปีสุขภาวะในประชากรชายโดยสูงถึงห้าแสน ห้าหมื่นปีหรือร้อยละ 8.8
ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลกระทบในหลากหลายมิติทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเองหรือผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุจราจร การเกิดอุบัติเหตุจราจรมีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามปริมาณการดื่มก่อนขับขี่ โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากที่สุดคือเมาแล้วขับ และเป็นเหตุที่ทำให้เสียชีวิตลำดับที่สอง ผลกระทบแบบเรื้อรังหรือระยะยาว ได้แก่ภาวการณ์เกิดพิษเฉียบพลัน ระบบทางเดินอาหาร มะเร็ง โรคทางจิตและประสาทและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มที่มากขึ้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้อื่นซึ่งเป็นหลักการสำคัญลำดับต้นๆในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัวของผู้ดื่ม พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของบุคคลอื่นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวอีกทั้งยังเป็นผลให้เกิดการส่งผ่านพฤติกรรมการดื่มจากรุ่นสู่รุ่น (intergenerational transmission) นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการทารุณกรรมต่อเด็กในครอบครัวทางร่างกายร้อยละ 18.1 และทางจิตใจ ร้อยละ9.2 ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานก่อให้เกิดความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงาน อาทิเช่น การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ยังพบว่าผู้ที่ดื่มในระดับอันตรายมากจะสูญเสียผลิตภาพการทำงานมากที่สุด ร้อยละ 13.9 หรือคิดเป็นการขาดงาน 30 วันต่อปี (10) ในส่วนผลกระทบต่อชุมชนหรือสาธารณะ ได้แก่ การกระทำความผิดทางอาญา การดื่มสุราเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดคดีอาญาต่างๆ อาทิเช่น ทำให้เสียทรัพย์ ร้อยละ 59.1 ความผิดเกี่ยวกับเพศ ร้อยละ 34.8 ความผิดต่อร่างกาย ร้อยละ 20.8 ความผิดฐานบุกรุก ร้อยละ 16.1 และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ร้อยละ10.5 ความสูญเสียบนท้องถนนเป็นอีกผลกระทบหนึ่ง ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทัศนคติหลังการดื่มกับสมรรถภาพในการขับรถ คิดว่าตนเองยังสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย ส่งผลให้เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับที่ 1 คือเมาสุรา การดื่มแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุและทำให้มีผู้เสียชีวิตอันดับที่ 1 (4) ผลกระทบต่อครอบครัว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว พบว่าครอบครัวที่ดื่มสุรามีโอกาสเกิดความรุนแรงในครอบครัว 3.84 เท่า ของครอบครัวที่ไม่ดื่มสุรา (10) ทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี บุตรขาดความอบอุ่น ผู้หญิงที่เป็นภรรยาเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต อาจถึงเป็นโรคซึมเศร้าเพราะหัวหน้าครอบครัวติดสุรา (15) ผลกระทบต่อรัฐ ก่อให้เกิดภาระของประเทศในการคอยแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายในการบังคับใช้กฎหมายและการฟ้องร้องคดีความกระบวนยุติธรรม เป็นต้น
สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัดของจังหวัดพะเยา โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 54 สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ มีคะแนนดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศเช่นเดียวกัน ในปี 2560 พบความชุกร้อยละ 44 อยู่ในลำดับที่ 3และในปี 2564 พบความชุกร้อยละ 40.7 อยู่ในลำดับที่ 5 ของประเทศ (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา,2564)
จากสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลจำป่าหวาย มีการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้ารับบริการสุขภาพในสถานบริการ(ASSIST) ในประชากร อายุ 15 ปี ขึ้นไป ประชากรที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด จำนวน 1,413 คน ประชากรที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 791 คน คิดเป็นร้อยละ 55.98 (ข้อมูลจาก HDC(Health Data Center) จังหวัดพะเยา) ข้อมูลผู้ป่วยที่รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลพะเยา สาเหตุเนื่องจากสุราของตำบลจำป่าหวายที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพะเยา ย้อนหลัง 3 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังข้อมูลตามตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพะเยา ปี 2564-2566 ปี พ.ศ. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ (คน)จำนวนผู้ป่วย(คน) จำนวนที่รับบริการ(ครั้ง) หมายเหตุ 256418 30 131
2565 9 31130
256619 34 92 *พยายามฆ่าตัวตาย 1 ราย เพศชาย 1 ต.ค.-31 ธ.ค.66*** 2037 112
ตารางที่ 1 จากข้อมูลดังกล่าว เห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสาเหตุเนื่องจากสุรามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลช่วง 1 ตุลาคม–31 ธันวาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงกว่าผู้ป่วยตลอดปี ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากปัจจัยใดบ้าง
ด้านพฤติกรรมการดื่ม พบว่าในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสารเสพติดอื่นแบบผสมผสาน ได้แก่ ดื่มเหล้าควบคู่กับการใช้กัญชา กะท่อม สูบบุหรี่(รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า) ส่งผลให้มีการออกฤทธิ์เร็ว รุนแรง และต้องการเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ผลกระทบต่อแต่ละด้านเพิ่มสูงขึ้นตามมาที่เห็นชัดเจนคือผลกระทบในมิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพตำบลจำป่าหวาย จึงได้ประสานงานและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย และหน่วยบริการสาธารณสุข (โรงพยาบาลพะเยาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย) จัดทำโครงการบูรณาการลดปัจจัยเสี่ยงจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมสารเสพติดอื่นๆตำบลจำป่าหวายขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

7.69 100.00
2 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

30.76 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 8.1 ประชุมคืนข้อมูล(27 พ.ค. 2567-27 พ.ค. 2567) 0.00        
รวม 0.00
1 8.1 ประชุมคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,550.00 1 0.00
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 3.1 สำรวจข้อมูลการดื่มเริ่มตั้งแต่กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งจำหน่าย และจัดประชุมคณะทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน อสม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการ คืนข้อมูลและทำข้อตกลงการขับเคลื่อนงานร่วมกัน (ประกอบด้วย คณะทำงาน 0 47,550.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 แกนนำชุมชน อสม. สามารถขับเคลื่อนงานด้านการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วม สารเสพติดอื่นๆในชุมชนของตนเองได้8.2 ประชาชนได้รับการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายจากผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2567 12:04 น.