กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
รหัสโครงการ 61-L5225-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม อบต.พังยาง
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพศาล หนูกลัดนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.721,100.354place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม "โรคอุบัติซ้ำ" ที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จังหวัดสงขลาโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาพบว่า ปีพ.ศ.2559 จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยสะสมสูงอยู่ในลำดับที่ 7 ของประเทศ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 269 ราย สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน ยังคงเกิดการระบาดอย่างกว้างอัตราการป่วยและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรคโดยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันการป้องกันโรคดังกล่าวสามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ เช่นการรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียน วัด ชุมชนสถานที่ราชการต่างๆการจัดหาสารกำจัดลูกน้ำการพ่นหมอกควันและสารเคมีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำและสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
องค์การบริหารส่วนตำบลพังยางมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552มาตรา 67(3) กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา16(19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลพังยาง จึงได้ดำเนินงานเพื่อป้องการการเกิดและแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่องทุกปีและในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 นี้ ได้ดำเนินการโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้น โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ผ่านศูนย์กระจายข่าวประจำตำบล รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่และมอบทรายอะเบทเพื่อป้องกันและจำจัดไข่ลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ให้รู้จักวิธีการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรค ไข้เลือด

ประชาชนมีความรู้ในด้านการกันป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างน้อย 80 % จากการตอบแบบสอบถาม

2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

จำนวนประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมาขอรับทรายอะเบท อย่างน้อย 60 %

3 เพื่อลดอัตราการป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตในพื้นที่ลดน้อยลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อของบประมาณ
  2. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. จัดเตรียม/จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้มีความพร้อม
  4. ดำเนินงานตามโครงการ

    • ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ด้านการป้องกันและการกำจัดลูกน้ำยุงลายผ่านศูนย์กระจายข่าวประจำตำบล
    • ติดป้ายประชาสัมพันธ์ถึงการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลพังยาง
    • จัดรถประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมทั้งแจกทรายอะเบทและแผ่นพับให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  5. ติดตามและประเมินผลโครงการ

  6. สรุปและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว มีความรู้ ความเข้าใจ รู้จักวิธีการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดและร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการช่วยกันเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  3. การแพร่ระบาดของโรค อัตราป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 09:31 น.