กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ออฟฟิศซินโดรม ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2540-1-0009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2567 - 29 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสังคมไทยมีประชากรวัยทำงานเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะงานที่แตกต่างกันไป ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่ ยุค 40 ซึ่งเป็นยุคสมัยใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีในการทำงานซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องใช้งานเป็นเวลานานและในปัจจุบันประชากรในวัยทำงานมีการจัดการท่าทางที่ไม่ถูกต้องและขาดการจัดการในการบริหารร่างกาย ก่อนการทำงาน ระหว่าการทำงาน และหลังการทำงาน ทำให้มีกรเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจึงทำให้มีการอักเสกของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่ทำงานแบใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะงานชนิดแบบพิมพ์งานบ่อยๆและในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมแบบก้มหน้าซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะใช้เวลาก้มหน้าในการเล่นโทรศัพท์มือถือในทุกๆเวลา เวลาย่ามว่าง ก่อนนอน และหลังจากตื่นนอนทำให้มีการทำงานของกล้ามเนื้อแบบซ้ำๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคกลุ่มเล่านี้เรียกว่า ออฟฟิต ซินโดรม ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อรักษา ป้องกันและฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย เนื่องจากพนักงานออฟฟิศในพื้นที่ตำบลปะลุรูมีการทำงานแบบแบบยุคสมัยใหม่ ในองค์กร ทำให้มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นจำนวนมาก ซึ่งพบผู้ป่วยที่มารักษา โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ในโรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารร่างกายและวิธีการจัดการที่ถูกต้องเพี่อให้งานดำเนินต่อไปอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,320.00 0 0.00
10 ม.ค. 67 - 29 ก.ย. 67 บรรยายให้ความรู้ 0 19,920.00 -
10 ม.ค. 67 - 29 ก.ย. 67 ออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนูและยืดกล้ามเนื้อ 0 9,600.00 -
10 ม.ค. 67 - 29 ก.ย. 67 ฐานกายภาพบำบัด 0 4,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น 2.สุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)มีการจัดการตัวเองที่ถูกต้อง 3.ป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 00:00 น.