กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รู้เท่าทันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L5281-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 39,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีดี เรืองพูน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 185 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกําจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางอาทิ เช่น สารกําจัดแมลง(insecticides) สารกําจัดหนู (rodenticides) สารกําจัดวัชพืช (herbicides) และสารกําจัดเชื้อรา (fungicides) เป็นต้น สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรเป็นสารพิษอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบต่อสุขภาพส่วนมากเกิดจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรหรือใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง (สุธาสินี อั้งสูงเนิน, 2558) ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพนั้นมีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ผู้ที่สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ กลุ่มเกษตรกร ผู้ฉีดพ่นที่จะได้รับพิษโดยตรง แต่สำหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อมจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารตกค้างปนเปื้อนอยู่ แม้ได้รับในปริมาณต่ำแต่การที่ได้รับเป็นประจำสารพิษอาจสะสมเป็นปัญหาเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย (ศิริอุมา เจาะจิตต์และคณะ, 2560)  โดยเฉพาะสารกลุ่มคาร์บาเมตและกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาท ผลการจับตัวกับเอนไซม์ทำให้ปริมาณของเอนไซม์ลดลงและมีผลต่อกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงต่อมต่างๆ และกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งควบคุม  อวัยวะภายใน ที่ทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะหยุดการทำงาน ส่งผลทำให้ระบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริวที่กล้ามเนื้อ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมาก บางครั้งพบอาการม่านตาหรี่หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก และหมดสติ (กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2564; วินัย วรานุกูล และคณะ,2564)
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และบางส่วนมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่า การปฏิบัติตนของเกษตรกรก่อนฉีดพ่น ในระหว่างฉีดพ่น และหลังฉีดพ่นยังไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล จึงอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และจากข้อมูลรายงานสรุปผลการสุ่มตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านควนบ่อทอง ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 7 ตัวอย่าง  พบตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 85.71 และตกมาตรฐานร้อยละ 14.29 ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงในการได้รับสารเคมีตกค้างจากการรับประทานผักและผลไม้   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รู้เท่าทันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง รวมทั้งพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบทางสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 370 39,950.00 0 0.00
13 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเกษตรกร 50 11,050.00 -
13 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มผู้บริโภค 50 11,050.00 -
13 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่ม อสม. 85 15,950.00 -
13 พ.ค. 67 กิจกรรมเจาะเลือดตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส 185 1,900.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.2 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง   2. ขั้นดำเนินการ 2.1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเกษตรกร เรื่อง นโยบายและกฎหมายที่เกษตรกรและผู้บริโภคควรทราบ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช   2.2 อบรมให้ความรู้กลุ่มผู้บริโภค เรื่อง นโยบายและกฎหมายที่เกษตรกรและผู้บริโภคควรทราบ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง 2.3 อบรมให้ความรู้กลุ่ม อสม. เรื่อง นโยบายและกฎหมายที่เกษตรกรและผู้บริโภคควรทราบ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง และการประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยใช้แบบคัดกรอง (นบก.1-56) 2.4 ประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยใช้แบบคัดกรอง (นบก.1-56) พร้อมเจาะเลือดตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสกลุ่มเป้าหมายในวันที่เข้ารับการอบรม และนัดเจาะเลือดซ้ำในรายที่ผลเลือดผิดปกติ หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน
      3. ขั้นสรุปโครงการ 3.1 ประเมินผลโครงการ 3.2 จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบทางสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้
      2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือส่งต่อรักษาในรายที่ผิดปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2567 10:49 น.