กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี วิถีมุสลิม
รหัสโครงการ 61-L4156-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2561 - 16 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวยูนุ๊ หะรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2561 16 มี.ค. 2561 45,100.00
รวมงบประมาณ 45,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพและการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในยุคปัจจุบันนั้น ความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนากับสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอยู่ไม่น้อย ดังเช่นศาสนาอิสลาม หากย้อนกลับไปพิจารณาวิถีของอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆ ด้าน (The way of life) เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยนั้น อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่หัวใจ และจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสุขภาพกับศาสนพิธี หรือ “อิบาดะอ์” เช่น การละหมาด การถือศีลอด การอาบน้ำละหมาด การออกกำลังกาย โภชนาการ การพักผ่อน การป้องกัน การรักษา การปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามจึงเป็นการปฏิบัติดีเกี่ยวกับสุขภาพไปพร้อมกันด้วย จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ, ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม, ความเครียด, การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ฯลฯ นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้ ในพื้นที่ตำบลเกะรอก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันยังมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่มาโดยตลอดและได้มีความพยายามในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยคาดหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด จากข้อมูลการสำรวจสถานะสุขภาพของตำบลเกะรอปี 2560 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 221 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.91 ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 531 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.98 อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (รวมทุกกลุ่มประชากร) คิดเป็นร้อยละ 0.29 จากข้อมูลดังกล่าว ประชาชนตำบลเกะรอได้ตระหนักถึงปัญหาและเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงเข้าใจสาเหตุและสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี วิถีมุสลิม และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของประชาชนตำบลเกะรอ โดยเพิ่มแนวคิด/รูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพที่มีต้นแบบมาจากท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ.ล.) มาใช้บูรณาการในการดูแลสุขภาพ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามวิถีชีวิตในแบบมุสลิม และในการดำเนินกิจกรรมมีการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างเครือข่ายการทำงานระหว่างบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ โดยมุ่งหวังให้เกิดการตระหนัก การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่นและหน่อยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของคนในชุมชน เพื่อต่อยอดและยกระดับสู่การเป็นชุมชนตัวอย่างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนตำบลเกะรอมีความรู้และทักษะในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนตำบลเกะรอมีความรู้ในการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,100.00 1 45,100.00
15 - 16 มี.ค. 61 การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 0 45,100.00 45,100.00
  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร
  2. ประกวดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี
  3. สาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
  4. สาธิตการออกกำลังกายที่ถูกวิธี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการจัดการและดูแลสุขภาพตนเอง
  2. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 13:10 น.