กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L8279-01-2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2567 - 26 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบาเจาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 28 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของเราทุกคน อาทิ ขยะที่เกิดจากการบริโภค การส่งเสริมท่องเที่ยว การเติบโตของธุรกิจไรด์เดอร์หรือบริการส่งอาหาร/สินค้า บริการ นโยบายส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ แม้ว่าขยะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น กล่องใส่อาหาร กล่องโฟม ถุงหูหิ้ว หลอดดูด แก้วน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นขยะประเภทใช้ครั้งเดียวที่สามารถนำมารีไซเคิลได้จะมีแนวโน้มลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่สัดส่วนของขยะที่กำจัดไม่ถูกต้องกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น  ปัญหาขยะล้นเมืองในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาที่ยังแก้ไขได้ยากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของการคัดแยกขยะ รวมถึงการกำจัดขยะที่ถูกวิธี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นจะพบปัญหาการถ่ายเทขยะไม่ทัน หรือการทิ้งขยะไม่เป็นที่ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะสะสมจนกลายเป็นวิกฤตเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยได้ในที่สุด มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในประเทศไทยมากถึง 27.06 ล้านตัน เมื่อเทียบปริมาณขยะแล้วใน 1 วัน มีคนทิ้งขยะวันละ 1.14 กิโลกรัมต่อคน โดยนอกจากข้อมูลของปริมาณขยะที่พบแล้วยังมีเรื่องของการทิ้งขยะและกำจัดขยะได้ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมและส่งกลิ่นรบกวนต่อพื้นที่อยู่อาศัยโดยรอบ การป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่สําคัญ คือ การลดขยะที่แหล่งกําเนิด (Source reduction) โดยอาศัยขบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวัน การลดปริมาณขยะจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตั้งแต่การเก็บรวบรวม ขนส่ง การคัดแยกและใช้ประโยชน์ ตลอดจนการกําจัดขั้นสุดท้าย ลดปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อม และประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานองค์กรและชุมชน สามารถลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นได้ ก่อนจะทิ้งขยะ หยุดคิดสักนิดว่าเราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบาเจาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนในเรื่องนี้  โดยสนับสนุนวิชาการ และการดำเนินงานต่างๆ ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยในโรงเรียน ปีงบประมาณ ๒๕6๗ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอย ชุมชนและในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง   ๒. นักเรียนมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะ การกำจัดขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครัวเรือนและในชุมชน   ๓. โรงเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และมีการนำขยะไปใช้ประโยชน์   ๔. ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2567 10:05 น.