กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 60-L3321-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปันแต
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ คงเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,100.051place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2560 8 ส.ค. 2560 3,270.00
รวมงบประมาณ 3,270.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 138 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆออกมาเช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ตำบลปันแต เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย การทำนาปี ทำสวนยางพารา พืชล้มลุกทางการเกษตรอีกหลายชนิด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรง และสูง ในปีงบประมาณ ๒๕๕9 จากการเจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๑ พบว่า ปกติ ร้อยละ 6.12ปลอดภัย ร้อยละ 57.55 มีความเสี่ยง ร้อยละ 26.93 และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 7.34 กรณีพบว่า เสี่ยงและไม่ปลอดภัยในครั้งที่ ๑ เจาะเลือดเกษตรกรโดยใช้กระดาษ Reactive paper ครั้งที่ ๒ พบว่า ปลอดภัย ร้อยละ 28.12 มีความเสี่ยง ร้อยละ 31.25ไม่ปลอดภัยร้อยละ 40.62 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลปันแต ยังคงมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชอยู่ มีสารเคมีในเลือดในระดับที่เสี่ยง และไม่ปลอดภัย
ดังนั้น ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2560 ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเฝ้าระวังและรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๐

เกษตรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๕๐

2 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๘๐

เกษตรกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๘๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ๒ จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติจากประธานกองทุน ๓ จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและนัดวันเวลาและสถานที่ในการตรวจ ๔ ดำเนินการตรวจหาสารเคมีตกค้าง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง
๕ ติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย ๒ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 15:39 น.