กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่ะเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 100.00
    2. ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 - 39 เป็นต้นมา
    3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index (HI) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 4.78 ซึ่งน้อยกว่า 10 ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกต่ำ
    4. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย Container Index (CI) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 0 ซึ่งมีระดับที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคอยู่ในระดับปลอดภัย
  2. จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

    1. ผู้เข้าร่วมโครงการกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่ะเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2561  จำนวน 102 คน  คิดเป็นร้อยละ 100.00

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน และทุกภาคส่วน
ตัวชี้วัด : ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน และบริเวณบ้าน (ค่า HI < 10 , CI = 0)
500.00 500.00
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index (HI) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 4.78 ซึ่งน้อยกว่า 10 ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกต่ำ
  2. ดัชนีลูกน้ำยุงลาย Container Index (CI) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 มีค่าเท่ากับ 0 ซึ่งมีระดับที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคอยู่ในระดับปลอดภัย
  3. จำนวนบ้านที่ได้รับการสำรวจลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 500 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
0.00 0.00

ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 - 39 เป็นต้นมา

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 102
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 102
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดเว้น2ปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ณ 31 ธันวาคม 2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 51,583 คิดเป็นอัตราป่วย 78.84 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 60 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชากร การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เท่ากับ 12,464 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 134.75 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 26 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.21 และจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงสุดของภาคใต้ จำนวน 2,988 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 212.53 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.17 ในส่วนของอำเภอระโนดพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 75 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 126.16 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และตำบลท่าบอน, ตำบลบ้านขาว, ตำบลระโนด, ตำบลระวะ, ตำบลบ้านใหม่, ตำบลวัดสน, ตำบลแดนสงวน, อัตราป่วยเท่ากับ 191.5 , 172.71 , 170.11 , 134.32 , 125.5 , 109.34 , 89.68 , 63.32, 46.26 , 40.31 , 36.46 , ต่อแสนประชากร ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 30 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 25 - 34 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 17 ราย
จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด พบว่า ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ พบว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 130.56 ต่อประชากรแสนคน ซึ้งสูงกว่าค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือหมู่ที่ 3 บ้านท่าบอน 3 ราย รองลงมาคือ หมู่ที่ 7 บ้านขี้นาก จำนวน 2 ราย , หมู่ที่ 4 บ้านศาลาหลวงบน จำนวน 2 ราย , หมู่ที่ 10 บ้านมาบปรือ จำนวน 2 ราย , หมู่ 2 บ้านอู่ตะเภา จำนวน 1 ราย และ หมู่ที่ 1 บ้านรับแพรก จำนวน 1 ราย ตามลำดับ ในส่วนของ หมู่ที่ 5 บ้านหัวคุ้ง , หมู่ที่ 8 บ้านคลองเป็ด , หมู่ที่ 6 บ้านศาลาหลวงล่าง และ หมู่ที่ 9 บ้านมาบบัว ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และจาการสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน จำนวน 500 หลังคาเรือน ยังพบมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุง HI = 10.16 , CI = 0

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh