กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมใจเป็นหนึ่งปกป้องภัยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2561
รหัสโครงการ 2561/L7161/2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนสวนผัก
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธาน อสม.ชุมชนสวนผัก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 พ.ย. 2560 8 พ.ย. 2560 20,600.00
2 16 พ.ย. 2560 16 พ.ย. 2560 14,900.00
3 1 ก.ค. 2561 31 ก.ค. 2561 7,000.00
รวมงบประมาณ 42,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาอสม.ชุมชนสวนผัก (ปิยานนท์พงศ์) มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 296 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวน 1,148 คน ในปี 2560 (เดือนมกราคม - สิงหาคม 2560 ข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุขศาลาประชาคม ) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน3 ราย โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม.ชุมชนสวนผัก (ปิยานนท์พงศ์) จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการรวมใจเป็นหนึ่งปกป้องภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2561เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกดีขึ้น เป้าหมาย ประชาชนทั่วไป และ อสม. น้อยจำนวน100คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มวัย

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออกได้
3.ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของชุมชน มัสยิด สุเหร่า โรงเรียน

2 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออกได้
3.ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของชุมชน มัสยิด สุเหร่า โรงเรียน

3 ที่ 3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออกได้
3.ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของชุมชน มัสยิด สุเหร่า โรงเรียน

4 4. เพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน ตามเป้าหมาย ดังนี้ 4.1 ในโรงเรียน/มัสยิด/สุเหร่า/ศาสนสถานลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยแต่ละที่ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย ( CI=O) 4.2 ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือน โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่เกิน 10 )

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออกได้
3.ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของชุมชน มัสยิด สุเหร่า โรงเรียน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,500.00 2 42,500.00
9 ธ.ค. 60 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 0 20,800.00 20,800.00
9 ธ.ค. 60 - 18 ส.ค. 61 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 21,700.00 21,700.00

1.ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์โรคมาจัดทำโครงการ 2.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินการ 3.ทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง เพื่อของบสนับสนุนฯ 4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
5.ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
- รณรงค์ภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก -อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกสาธิตและฝึกปฎิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
-อสม. และอสม.น้อย ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และประเมินค่า HI ,CI ในชุมชน โรงเรียน มัสยิด ทุก 3 เดือน / ทุกแห่ง
-ประสานเจ้าหน้าที่เทศบาลพ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกแห่ง ก่อนเปิดเทอมและหลังเปิดเทอม 6.สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
    2.ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีศักยภาพดูแลและป้องกันตนเองจากของโรค ไข้เลือดออกได้
    1. มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
    2. แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน วัด มัสยิด/สุเหร่า/ศาสนสถาน สถานที่ราชการ ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2560 15:28 น.