กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่
รหัสโครงการ 60-L5209-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2560 - 21 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 22 พฤษภาคม 2560
งบประมาณ 28,707.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริวรรณทองบัว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววารีญาบิลตาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 124 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถถ่าย ทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจ สามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อชนิดใหม่ ๆที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา หรือโรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในที่ใดที่หนึ่ง หรือโรคที่เพิ่งจะแพร่ระบาดเข้าไปสู่อีกที่หนึ่ง และยังรวมถึงโรคติดเชื้อที่เคยควบคุมได้ด้วยยาปฏิชีวนะแต่เกิดการดื้อยาเช่น โรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ สัตว์ปีกหรือไข้หวัดนก และวัณโรคดื้อยา เป็นต้นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน5 ด้านประกอบด้วย 1) มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2) มีระบบระบาดวิทยาในระดับอำเภอที่ดี 3) มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 4) มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม 5) มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันที่สำคัญคุณลักษณะทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะบูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน รวมทั้งให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เรียนรู้การวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเองโดยการดำเนินงานในลักษณะ“ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับเพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับประชาชนทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยบริการและหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถใช้ข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่ รวมทั้งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิดองค์ความรู้เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้างเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ให้ความสำคัญของการป้องกันโรคติดต่อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยเน้นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งการควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสู่ตำบลป้องกันโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ

1.ภาคีเครือข่ายมีความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมโรคที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

2 2. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

2.อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

3 3. เพื่อพัฒนาการดำเนินการควบคุมโรคที่รวดเร็ว

3.ตำบลท่าช้างเป็นตำบลปลอดโรคติดต่อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  2. ประสานงานหน่วยงาน ปศุสัตว์อำเภอ และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง12.2 จังหวัดสงขลา
    เพื่อขอรับการสนับสนุนวิทยากร
  3. ประชุมชี้แจงบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายในระดับพื้นที่ตามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง
    3 หน่วยงานหลัก ( สธ. ศธ. มท.)
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่
  5. จัดระบบเฝ้าระวังร่วมกับชุมชน ท้องถิ่นในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคโรคติดต่อ รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรการทางสังคมของชุมชน
  6. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง
  2. ตำบลท่าช้างเป็นตำบลปลอดโรคติดต่อ
  3. ภาคีเครือข่ายร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมโรคที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 09:18 น.