กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5221-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 26,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2561 17 ม.ค. 2561 10,500.00
2 1 พ.ค. 2561 30 มิ.ย. 2561 12,800.00
3 1 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 3,000.00
รวมงบประมาณ 26,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพอันดับต้นของสังคมไทยและทั่วโลกคือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสุขภาพ การบาดเจ็บจากอุบัติภัย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะสุขภาพคนไทยครั้งที่ 5 (2557) พบว่าปัญหาสุขภาพคนไทยที่เกิดจากพฤติกรรม สภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไตวาย โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาระของสังคมไทยและระบบบริการสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆดังนั้นในการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าว ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ทุกคนตั้งแต่ระดับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน ควรร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังในการส่งเสริมการป้องกันโรค สร้างสิ่งแวดล้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังควบคุมโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญและมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังด้วยการส่งเสริม/รณรงค์ให้ประชาชนไทยทุกคนเข้าถึงและได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพให้ครอบคลุมมากที่สุดตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยง หรือ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งมีการให้ความรู้ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงทุกรายเพื่อลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว เพราะในปี 2559 พบว่า ร้อยละ 43.1 ของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อนเพราะไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรอง ทำให้เข้าถึงการรักษาที่ค่อนข้างล่าช้า และเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้วจึงเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มภาระในการดูแลรักษามากขึ้นด้วย จากสถานการณ์การตรวจคัดกรองและอัตราผู้ป่วยโรคเรื้อรังของเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ พบอัตราการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง(อัมพฤกษ์อัมพาต) รายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆดังตารางต่อไปนี้ หมู่บ้าน ความครอบคลุมการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง (ร้อยละ) พบกลุ่มเสี่ยง (ร้อยละ) พบผู้ป่วยรายใหม่ (DM/HT/STROKE/MI) (ร้อยละ) หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 1 หมู่ 2 2558 98.06 % 97.63 % 43.98 % 43.79 % 7.50 % 33.30 % 2559 99.61 % 98.78 % 49.10 % 53.69 % 3.60 % 22.50 % 2560 94.69 % 96.23 % 47.59 % 43.79 % 6.30 % 25.3 % ดังนั้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน ได้ให้ความสำคัญและเล็งเห็นปัญหาสุขภาพดังกล่าวในระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ เข้าใจ มีทักษะนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคเรื้อรังได้ รวมทั้งสามารถค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องเป็นภาระตามมาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง มีความรู้/ทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและได้รับการติดตาม/ เฝ้าระวังภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง มีความรู้/ทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและได้รับการติดตาม/เฝ้าระวังภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

3 ลดอัตราการผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่

อัตราการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 10 %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ๑.๑ จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 1.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1.3 อบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรอง 1.4 จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานดำเนินงานคัดกรองภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพในเขตพื้นที่รับผิ¬ดชอบ ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ 2.1 ประเมินภาวะโภชนาการ พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ประเมินภาวะซึมเศร้า
2.2 จัดบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง-โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ 2.3 แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ/ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และนัดตรวจซ้ำตามระดับความเสี่ยงการเกิดโรค
2.4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกทักษะการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงสูงและเสี่ยงเป็นโรค
2.5ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ3 และ 6 เดือน ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล สรุปผลความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง สนับสนุนบุคคลต้นแบบดูแลกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มๆ อย่างต่อเนื่อง และคืนข้อมูลสุขภาพแก่ชมรมพัฒนาสุขภาพคลินิกใกล้ใจ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนแก้ปัญหาในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพ
  2. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง มีความรู้/ทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและได้รับการติดตาม/ เฝ้าระวังภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8๐%
  3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้/ทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเพิ่มขึ้น
  4. ลดอัตราการผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 11:10 น.