กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 61-L5221-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกใกล้ใจ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรสสุคนธ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2561 28 ก.พ. 2561 0.00
2 1 มี.ค. 2561 30 มิ.ย. 2561 14,000.00
3 1 ก.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 1,500.00
รวมงบประมาณ 15,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
จากผลการประเมินคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรังของคลินิกใกล้ใจ ใน 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการควบคุมโรคได้ในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงลดลง อัตราการหยุดยาเองเพิ่มขึ้น และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคไตวาย โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต โรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่โรงพยาบาลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูง ต้องเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ต้องใช้การฟื้นฟูระยะเวลานาน รวมทั้งส่งผลให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้สูง และต้องการผู้ดูแล-รักษาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและชุมชนตามมา สถานการณ์โรคแสดงได้ตารางต่อไปนี้

ปัญหา เป้าหมาย ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 1.อัตราการควบคุมโรค

40 % เบาหวาน = 27.91 % ความดัน = 45.95 % เบาหวาน = 28.58 % ความดัน = 50.87 % เบาหวาน = 28.07 % ความดัน = 24.22 % 2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน < 10 % ไตวาย = 12.01 % อัมพฤกษ์ = 13.22 % หัวใจ = 3.1 % ไตวาย = 19.81 % อัมพฤกษ์ = 22.02 % หัวใจ = 5.1 % ไตวาย = 27.64 % อัมพฤกษ์ = 31.71 % หัวใจ = 10.39 % 3. อัตราขาดยา 0 11.82 % 10.94 % 15.43 %

ดังนั้นทางคลินิกใกล้ใจ ทีมสุขภาพโรงพยาบาลระโนด ร่วมกันแกนนำสุขภาพภาคประชาชน ได้ให้ความสำคัญและเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาระแทรกซ้อนขึ้น เพื่อส่งเสริม/เสริมศักยภาพผู้ป่วยในการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรค เน้นการเข้าถึงและความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงให้มากขึ้น (ในปี 2560 คัดกรองภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 43.2 เพราะคิดว่าตนเองสบายดี จึงไม่มาตรวจคัดกรอง) เพื่อจะได้ควบคุม/รักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 คุณภาพในระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรังในคลินิก

คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรังในระดับดีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50

2 อัตราการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

อัตราการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ 40

3 ลดอัตราการขาดนัด/ขาดยา

อัตราผู้ป่วยโรคเรื้อรังในคลินิกขาดยา ไม่เกินร้อยละ 5

4 ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง
  1. ผู้ป่วยเรื้อรังในคลินิกได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (ไตวาย หัวใจวาย อัมพฤกษ์/อัมพาต)ในผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่เกินร้อยละ 10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำทะเบียนผู้ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย และอัมพฤกษ์/อัมพาต และประเมินคุณภาพการดูแลรักษา
  2. จัดประชุมร่วมกับทีมสุขภาพ เพื่อประเมินคุณภาพในการดูแลรักษา และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
  3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาระแทรกซ้อน
  4. พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบสหวิชาชีพ
  5. จัดกิจกรรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนแบบบูรณาการในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
  6. เยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหา ขาดนัด หรือมารับบริการไม่ได้
  7. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพิ่มคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรังในคลินิก
  2. เพิ่มอัตราการควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
  3. ลดอัตราการขาดนัด/ขาดยา
  4. ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 13:37 น.