กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวรอบรู้ใส่ใจพัฒนาการลูกน้อย
รหัสโครงการ 61-L5221-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกใกล้ใจ
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรสสุคนธ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 31 มี.ค. 2561 1,000.00
2 1 มี.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 16,800.00
รวมงบประมาณ 17,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วง แรกเกิด - 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนา ในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโต ของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทย พบว่า เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากสถานการณ์ปัญหาการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (0 - 5 ปี) ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน) กลับพบว่า เด็กปฐมวัยร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กเล็กในประเทศไทยมีแนวโน้ม พัฒนาการล่าช้าซึ่งถือว่ามีจำนวนสูงมากและรายงานล่าสุดของกรมอนามัย ปี 2557 ยืนยันว่า เด็กอายุ 0 - 2 ปี มีพัฒนาการไม่สมวัยร้อยละ 22 และเด็กอายุ 3 - 5 ปี มีพัฒนาการไม่สมวัยสูงถึงร้อยละ 34 โดยเฉพาะ การพัฒนาด้านภาษาการใช้ภาษา และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และจากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด ปีงบประมาณ 2560 พบว่า เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 20.57คน เด็กพัฒนาการล่าช้า จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อย 8.47 เด็กมีพัฒนาการปกติ จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 80.17 จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น นับว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับเด็กไทย ซึ่งสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งคือ เป็นเพราะไม่มีใคร ให้ความสนใจพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง ประกอบกับปัญหา การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และ สถานรับดูแลเด็กขาดความรู้ที่ถูกต้องในการดูแล รวมถึงปัญหาด้านโภชนาการปัญหาการใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กขาดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยมีพัฒนาการช้าลง คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนดและองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน จึงจัดทำโครงการขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ที่ถูกต้อง

ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

2 ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ได้ถูกต้อง

ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

3 เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ

เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 100

4 เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง

เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่องร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,800.00 1 16,800.00
1 - 31 มี.ค. 61 ประชาสัมพันธ์โครงการด้วยป้ายประชาสัมพันธ์ 0 1,000.00 -
30 พ.ค. 61 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก 0 - 5 ปี ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ( DSPM) 0 16,800.00 16,800.00

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการกับคณะทำงาน เจ้าหน้าที่/ อสม.และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 1.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0 - 5 ปี และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กในพื้นที่หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
1.3 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านทางหอกระจายข่าวในชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1.5 ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 ประเมินความรู้ก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้ 2.2จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก 0 - 5 ปี ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ( DSPM) - พัฒนาการตามวัย การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก และการประเมินพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี - โภชนาการและอาหารตามวัย/นมแม่ - อุบัติเหตุตามวัย
2.3 แจกคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กกรณีผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ได้รับคู่มือหรือทำให้สูญหาย ( จากการสำรวจพบว่าผู้ปกครองไม่มีคู่มือ ร้อยละ 70 ) 2.4 จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่ออภิปรายผลการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 4 กลุ่ม เท่าๆกัน 2.5 ประเมินความรู้หลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้ 2.6 บันทึกข้อมูลผู้รับบริการและลงผลการประเมินพัฒนาการ ในโปรแกรม JHCIS เพื่อส่งข้อมูลไปยัง Ranode HIS Center ต่อไป ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 ประเมินความรู้หลังร่วมกิจกรรมให้ความรู้ 3.2 ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ในเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โดยให้เวลาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กกระตุ้นพัฒนาการเป็นเวลา 1 เดือน โดยเจ้าหน้าที่คลินิกใกล้ใจโรงพยาบาลระโนดจะตรวจพัฒนาการซ้ำอีกครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 - 5 ปี ที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
  2. ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก0 - 5 ปี ได้ถูกต้อง ร้อยละ 80
  3. เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ 100
  4. เด็ก 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 15:48 น.