กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5221-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารา ช่วยเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 31 พ.ค. 2561 17,700.00
รวมงบประมาณ 17,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถ เข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังจากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การสูดหายใจละออง ที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้น
จากการดำเนินโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ในปีงบประมาณ 2560 พบว่า เกษตรกรและผู้บริโภคมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับปลอดภัยร้อยละ 2 ระดับเสี่ยง ร้อยละ 30 และระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 68 ซึ่งการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ นอกจากเกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ด้วย ชมรมพัฒนาสุขภาพ ตำบลท่าบอน ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การเจาะเลือดคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนการแนะนำวิธีการรักษาเบื้องต้นโดยใช้สมุนไพรในการล้างพิษ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและการเลือกบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและการเลือกบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ผู้ข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมที่มีผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการรักษาโดยการใช้สมุนไพรรางจืด

ผู้ข้าร่วมโครงการที่มีผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด อยู่ในระดับเสี่ยงและเสี่ยงสูงได้รับการรักษาโดยการใช้สมุนไพรรางจืด ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,700.00 1 17,700.00
19 เม.ย. 61 กิจกรรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดพร้อมจ่ายยาสมุนไพรรางจืด 0 16,700.00 17,700.00

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมคณะกรรมการชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน 1.4 ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ 2.2 อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและการเลือกบริโภคอาหาร อย่างปลอดภัย แนะนำการใช้สมุนไพรรางจืดล้างพิษให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 2.3 ตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
2.4 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากได้รับความรู้ 2.5 จ่ายยาสมุนไพรรางจืดผู้เข้าร่วมโครงการที่มีผลเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย เป็นเวลา 7 วัน เว้น 7 วัน แล้วกินต่อ อีก 7 วัน โดยเจ้าหน้าที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลระโนด พร้อมแนะนำให้สุขศึกษา นัดเจาะเลือดซ้ำหลังจากกินยาสมุนไพรรางจืดครบชุด ส่วนในรายที่มีระดับสารเคมีในเลือดที่เสี่ยงและไม่ปลอดภัย นัดเจาะเลือดซ้ำ ทุก 1 เดือน
ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากได้รับความรู้ 3.2 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด 3.3 ติดตามผลจากการกินสมุนไพรรางจืดในกลุ่มที่มีผลเลือดผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและการเลือกบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย
  2. ผู้ข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด
  3. ผู้เข้าร่วมที่มีผลการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการรักษาโดยการใช้สมุนไพรรางจืด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2561 16:24 น.