กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์หยุดการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L3031-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแพทย์ทางเลือกตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 ธันวาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 119,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดาบูกา
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวอับดุลรอแมมะยีแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2559 30 ก.ย. 2560 67,600.00
รวมงบประมาณ 67,600.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (67,600.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (119,400.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต เวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสาเหตุจากยุงลายเป็นพาหะ เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกได้กัดคนแล้วหากยุงดังกล่าวยังไม่ถูกกำจัดจะสามารถวางไข่และเกิดเป็นยุงลายตัวใหม่ที่มีเชื้ออยู่ในตัวสามารถแพร่เชื้อโดยการกัดคนได้เป็นจำนวนมากก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัจจุบันเชื้อไข้เลือดออกได้มีการกลายพันธ์เนื่องจากไปกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกและเกิดการดื้อยาทำให้การรักษาทำได้ยากขึ้น ต้องใช้เวลามากขึ้นในการรักษา ในการกำจัดการแพร่เชื้อทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะและเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการเกิดโรคเป็นอันดับสามของอำเภอยะรังในปี ๒๕๕๙จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม ของทุกปีชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้เหลือไม่เกิน๕๐ต่อแสนประชากร ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ชาวบ้านและอื่น ๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๒. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๓. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลายโดยวิธี ๓.๑ ทางกายภาพรณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ๓.๒ ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดยอสม.และ พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ๓.๓ ทางชีวภาพสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุงเช่นตะไคร้หอมไล่ยุงการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๔. ติดตาม ประเมินผล กิจกรรมดำเนินการ กิจกรรมที่ ๑ การรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก กิจกรรมที่ ๒ การประกวดบ้านสะอาดน่าอยู่ปลอดจากแหล่งเพาะพันธ์ยุง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ คนต่อแสนประชากร ๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๕. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 11:10 น.