กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L1513-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2561 - 22 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,059.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินรมชมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลควนเมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3460 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกันควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันแต่ก็ยังพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปีซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการระบาดและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเคลื่อนย้ายประชากร จำนวนยุงลายที่เพิ่มมากขึ้นตามภาชนะน้ำขังที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การคมนาคมติดต่อสะดวกรวดเร็ว ซึ่งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2๙ ธันวาคม25๖๐ ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 38,756 ราย อัตราป่วย 59.24 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๕๕ ราย อัตราป่วย-ตายร้อยละ 0.14 จังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ ๔๕ ของประเทศโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒๖๓ ราย อัตราป่วย 40.99 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลควนเมา พบว่า มีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒๗ ราย
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกก่อนเกิดการระบาดจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลายที่สามารถเป็นพาหะของโรคได้ซึ่งเป็นการป้องกันปัญหาโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกและกำจัดยุงลายไม่ให้มีการแพร่เชื้อหรือขยายพันธุ์ต่อไปได้อีกภายในพื้นที่ตำบลควนเมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๒ จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ ๑.๓ ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑ รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกภายในพื้นที่ตำบลควนเมา ๒.๒ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และการ สำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน/โรงเรียน/ศาสนสถาน/ท้องถิ่น/ สถานบริการสาธารณสุข ๒.๓ กรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/สงสัยโรคไข้เลือดออก ดำเนินการพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วย และละแวกใกล้เคียง รัศมี ๑๐๐ เมตร และพ่นซ้ำอีก ๑ ครั้งระยะห่าง ๗ วัน และการพ่นหมอกควัน ช่วงรณรงค์ก่อนโรงเรียนเปิดเทอม ภายในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ศาสนสถาน/ท้องถิ่น/สถาน บริการสาธารณสุข ในพื้นที่ตำบลควนเมา ๒.๔ การลงสุ่มดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในแต่ละหมู่บ้านโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน เดือนละ ๑ ครั้ง ๓ ขั้นสรุปโครงการ ๓.๑ สรุปผลโครงการ ๓.๒ จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลควนเมามีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่า ๑๐ ๒. ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๓. ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก
๔. สามารถควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2561 16:01 น.