กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ ในนักเรียน หมู่ที่1ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5221-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 12,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารา ช่วยเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2561 14 ก.พ. 2561 0.00
2 23 พ.ค. 2561 23 พ.ค. 2561 8,880.00
3 23 ส.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 3,200.00
รวมงบประมาณ 12,080.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยที่กำลังพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้วิถีชีวิตมีแต่ความเร่งรีบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งเรื่องการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันต่างๆการบริโภคที่อาศัยความรวดเร็ว ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในการบริโภค ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ร่วมกับการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งอาหารประเภทนี้ประกอบด้วยแป้ง ไขมันและน้ำตาลสูง และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้เด็กไทยมีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย เกิดการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน คือ เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับสัดส่วนเด็กไทยที่มีแนวโน้มสู่ภาวะเป็นเด็กอ้วนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปี 2560 เด็กในวัยเรียนจะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 2 ใน 10 โดยเฉพาะเด็กในเมืองจะอ้วนร้อยละ 20-25 ทั้งหมดนี้นับเป็นอุบัติการณ์โรคอ้วน ในเด็กไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติ ดังกล่าวชี้ได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีอัตราโรคอ้วนในเด็กเร็วที่สุดในโลก เฉพาะระยะ 5 ปีที่ผ่านมาเด็กวัยเรียน 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้น 15.5%กองสุขศึกษาได้สำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนระดับประถมศึกษา เมื่อปี 2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,004 คน กระจายทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 60.4 เนื่องด้วยเด็กยังขาดข้อมูลความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคอ้วน จึงไม่สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแนวโน้มเด็กไทยจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเผชิญโรคอ้วนตั้งแต่เด็กนั้นจะเกิดผลร้ายต่อเด็กในระยะยาว และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ เด็กอ้วนเสี่ยงต่อการหยุดหายใจเมื่อหลับสนิท มีปัญหาออกซิเจนในเลือดต่ำลงในขณะนอนหลับส่งผลต่อการเจริญเติบโต มีอาการปวดศีรษะ ปัสสาวะรดที่นอน ซน สมาธิสั้น ระดับสติปัญญาต่ำ และอาจเป็นมากจนมีการทำงานของหัวใจและปอดแย่ลง ทำให้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ รวมทั้งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน และเติบโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 80ปัญหานี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก ที่บริโภคอาหารไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ต้องเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เรื่องโรคอ้วน หากประชากรวัยเด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วนในระดับต่ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับต่ำ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ ข้อมูลจากคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด งานโภชนาการวัยเรียน ตำบลท่าบอน โรงเรียนบ้านรับแพรก ช่วงตุลาคม2559-กันยายน 2560พบว่าเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน สูงถึง 15%ชมรมพัฒนาสุขภาพ ตำบลท่าบอน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวันเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ ขึ้น เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน และมีภาวะโภชนาการที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำแบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วนถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

2 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีค่าดัชนีมวลกายลดลง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 70
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร้อยละ 70
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการจัดทำโครงการกับคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 1.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายประชากรเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านรับแพรก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีภาวะอ้วน 1.3 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1.4 ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
2.1.1 ค้นหานักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนให้ได้เข้าอมรบทุกคน 2.1.2 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยมีการอบรมความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กนักเรียน โดยเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้ 2.1.2 ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2.2 กิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 2.2.1 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย และการบริโภค โดยให้บันทึกเป็นข้อมูลในแต่ละวัน 2.2.2 ติดตามและให้คำแนะนำเป็นระยะ 2.2.3 ประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกายพฤติกรรมการรับประทานอาหารและค่าดัชนีมวลกาย(BMI) ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 ประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย 3.2 ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 3.3 ประเมินค่าดัชนีมวลกาย(BMI)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2561 11:52 น.