กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร ม.2 ต.เกาะยอ รพ.สต.บ้านสวนเรียน
รหัสโครงการ 61-L5214-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัสหวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.163,100.542place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตัวเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โฟมเป็นภาชนะในการบรรจุอาหาร ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวก ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย จากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่าเมื่อนำกล่องโฟมไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงหรือที่มีไขมันหรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรีน ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงงในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท เป็นสารทำลายระบบสืบพันธ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคและกระบวนการทำลายและกำจัดโฟมก็ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน จากข้อมูลพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนทุเรียน หมู่ที่2 บ้านตีน ตำบลเกาะยอ มีจำนวนครัวเรือน หลังคาครัวเรือน มีร้านอาหาร 1 ร้าน แผงลอยจำหน่ายอาหาร 2 ร้าน ซึ่งยังคงมีการใช้โฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้บริโภคในชุมชนสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ข้างต้น จากความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร หมู่ที่ 2 บ้านตีน ต.เกาะยอ ขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร 2.เพื่อสร้างความตระหนักให้ อสม.แกนนำชุมชน ร้านชำผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย และครัวเรือน ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร 3.เพื่อให้หมู่ที่ 2 บ้านตีน ต.เกาะยอ เป็นชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam) เป้าหมาย ร้อยละ 90 ของตัวแทนครัวเรือนหมู่ที่ 2 จำนวน 64 คน

1.ผู้ข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 100 2.อสม. แกนนำชุมชน ร้านชำ ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและครัวเรือน ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 80 จากการประเมินทุก 2 เดือน 3.ชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันและประกาศเป็นชุมชนปลอดโฟม

2 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณประจำหมู่บ้าน ตัวแทนครัวเรือน ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 40 คน เพื่อให้มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายของการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร่วมกันทำข้อตกลงของชุมชนและช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ครอบคลุมหมู่บ้านอื่น 2.จัดซื้อภาชนะตัวอย่างอื่น ที่ใช้บรรจุอาหารแทนโฟมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ใบตอง ใบบัว กระดาษชานอ้อย พลาสติกชีวภาพ กล่องพลาสติกใส 3.ให้ อสม.สำรวจร้านชำ ร้านอาหาร/แผงลอย ครัวเรือน ที่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลชุมชน 4.จัดตั้งทีมติดตาม ประเมิน ชุมชน ร้านอาหาร/แผงลอย ที่ลด ละ เลิก การใช้โฟม และใช้ภาชนะอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแทนโฟมบรรจุอาหาร อย่างต่อเนื่องทุก 2 เดือน 5.จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร จำนวน 2 ผืน ไว้ที่ศาลาเอนกประสงคืและทางเข้าหมู่บ้าน 6.จัดทำป้ายโฟมร้านอาหาร/แผงลอยไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมร้อยละ 100 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ตระหนักถึงพิษภัยของโฟมบรรจุอาหารร้อยละ 100 3.มีหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2561 14:03 น.