กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันเด็กจมน้ำ
รหัสโครงการ 61-L1513-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 9 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 9 เมษายน 2561
งบประมาณ 34,524.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร แสนดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รายงานการจมน้ำระดับโลก (Global Report on Drowning) ขององค์การอนามัยโลก พบว่าในแต่ละปีมีคนจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง ๓๗๒,๐๐๐ คน คนที่จมน้ำเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ ๕๐ อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี ทั้งนี้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ ๓ รองจากโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) โดยมีการเสียชีวิตปีละ ๑๔๐,๒๑๙ คนประเทศไทยในกลุ่มเด็กไทยอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน (ปี พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๖) อยู่ในช่วง ๗.๖-๑๑.๕ และมีจำนวนการเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ ๑,๒๔๓ คนหรือวันละ ๓.๔ คน อัตราการป่วยตาย (Case Fatality Rate) จากการจมน้ำ เท่ากับร้อยละ ๓๗.๒ กลุ่มประชากรที่เสี่ยงได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีซึ่งมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ ๓๐ ของทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงประมาณ ๒ เท่าตัว เด็กอายุ ๕-๙ ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในทุกกลุ่มวัย จังหวัดตรังมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคนจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จำนวน ๙ ราย คิดเป็น ๖.๗ ต่อประชากรแสนคน และจากข้อมูลการเฝ้าระวังพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆคน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ ๒๓.๗ และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ (มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือ) เพียงร้อยละ ๔.๔ ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง ๗.๔ เท่า, ๒๐.๗ เท่า และ ๒.๗ เท่า ตามลำดับ ช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เท่ากับ ๑๔๙ คน รองลงมาคือเดือนพฤษภาคมและมีนาคม มีจำนวน ๑๒๗ คนและพฤษภาคม ๑๒๔ คน ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา ทั้งนี้ยังพบว่าในช่วงวันธรรมดามีการเสียชีวิตจากการจมน้ำสูงกว่าช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ ทั้งนี้ช่วงเวลา ๑๒.๐๐-๑๗.๕๙ น. ยังคงเป็นช่วงเวลาที่มีการเกิดเหตุสูงสุด สถานที่ที่เด็กตกน้ำ จมน้ำอยู่ที่บ้าน และบริเวณบ้านสูงที่สุด (ร้อยละ ๓๘.๕) แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ (ร้อยละ ๔๙.๔) รองลงมาคือสระว่ายน้ำ (ร้อยละ ๖.๙) และอ่างอาบน้ำ (ร้อยละ ๔.๖) การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนลงเล่นน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ก่อให้เกิดการตกน้ำ จมน้ำ เด็กอายุ ๑๐-๑๔ ปีที่บาดเจ็บรุนแรงจากการตกน้ำ จมน้ำมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ ๓.๐๓
ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ ภายในพื้นที่ตำบลควนเมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “การส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันเด็กจมน้ำ”เพื่อให้ทุกคนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๒ จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ ๑.๓ ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑ แต่งตั้งทีมผู้ก่อการดี (ทีมที่มีการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในมาตรการต่างๆ) ๒.๒ การสำรวจข้อมูล สถานการณ์ เพื่อการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในชุมชน ๒.๓ การสำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงภายในชุมชน ๒.๔ ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก/เด็ก การสอนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในเด็ก และการ สอนการปฐมพยาบาล/CPR
- โรงเรียนวัดควนเมา จำนวน ๓๐ คน - โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ จำนวน ๒๐ คน - โรงเรียนบ้านหนองมวง จำนวน ๒๐ คน - โรงเรียนบ้านทุ่งสมอ จำนวน ๒๐ คน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหน้าวัดควนเมา จำนวน ๓๐ คน ๒.๕ การฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดในเด็ก จำนวน ๒๐ คน ๒.๖ จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง
- การสร้างรั้วล้อมรอบ ติดป้ายคำเตือน หรือป้ายประชาสัมพันธ์ ไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง - จัดให้มีอุปกรณ์ลอยน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง สำหรับช่วยคนตกน้ำ เช่น ถังแกลลอนพลาสติก เปล่า, ไม้, เชือก ๒.๗ การประชาสัมพันธ์/รณรงค์ การเฝ้าระวังการจมน้ำ ๒.๘ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ / ความคิดเห็น ๓. ขั้นสรุปโครงการ ๓.๑ สรุปผลโครงการ ๓.๒ จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง ๒. ทำให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงภายในพื้นที่ตำบลควนเมา ๓. ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561 13:58 น.