กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรควัณโรค
รหัสโครงการ 61-L1513-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มีนาคม 2561
งบประมาณ 5,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเอมอร แสนดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.938,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ประชาชนเริ่มมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากสังคมชนบทเริ่มเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้นทำให้ประชนชนได้รับความสะดวกสบายซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยมากมายทั้งโรคที่อุบัติใหม่และโรคที่ระบาดมานานแล้ว ซึ่งโรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้มีความรุนแรงทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลกับโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ วัณโรคเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 120,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน คาดว่าน่าจะมีประมาณ 2,200 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่นี้มีผู้ป่วยเพียงประมาณ 70,000 ราย ที่ขึ้นทะเบียนรักษา และคาดว่ามีผู้ป่วยที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนรักษาประมาณ 50,000 ราย ในส่วนผู้ป่วยประชากรต่างด้าว คาดว่ามีผู้ป่วยปีละประมาณ 2,000 ราย ผู้ต้องขังในเรือนจำ 1,407 ราย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาวัณโรค และได้เร่งรัดให้มีการยกระดับเป้าหมายลดโรค จากเดิมมุ่งเน้นการควบคุมการระบาดของโรค มุ่งไปสู่การยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย โดยใน 5 ปีแรก (ปี 2559-2563) มีเป้าหมายลดอัตราป่วยลงร้อยละ 20 หรือให้เหลือผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 96,000 ราย และเป้าหมายระยะยาวคือให้อัตราป่วยรายใหม่ลดเหลือน้อยกว่า 10 ต่อประชากรแสนคน (ประมาณ 7,000 ราย) ใน 20 ปีข้างหน้า โดยการรักษาวัณโรคค่อนข้างมีปัญหา เพราะคนไข้ต้องรับประทานยาทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา ๖ เดือน และถ้าขาดยาไปก็จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาจนไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ในที่สุดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการค้นหาเชิงรุกและติดตามผู้ป่วยกินยาจนครบกำหนด พร้อมเฝ้าระวังปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาเพิ่มสิทธิการตรวจติดตามผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โดยกำหนดแนวทางการควบคุมโรคมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา” ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันรักษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วยและชุมชน สถานีอนามัยเฉลิม พระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรควัณโรค” เพื่อสามารถคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคในชุมชนและสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๒ จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ ๑.๓ ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๒. ขั้นดำเนินการ ๒.๑ ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง / คณะทำงาน ๒.๒ ชี้แจงสถานการณ์โรค การดำเนินการควบคุมและป้องกันการเกิดโรค แนวทางในการคัดกรอง โรควัณโรคแก่แกนนำสุขภาพ จำนวน ๘๐ คน ๒.๓ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ / ความคิดเห็น ๒.๔ การคัดกรองโรควัณโรคตามกลุ่มเป้าหมาย
๒.๕ สรุปการคัดกรองผู้ที่มีอาการสงสัยโรควัณโรค/ผู้ป่วยวัณโรคภายในพื้นที่ตำบลควนเมา และการส่งต่อ เพื่อเข้ารับการรักษาภายในสถานพยาบาลสาธารณสุข ๓. ขั้นสรุปโครงการ ๓.๑ สรุปผลโครงการ ๓.๒ จัดทำรายงานสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ในการคัดกรองโรควัณโรค ๒. ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลควนเมาได้รับการตรวจคัดกรองโรควัณโรค
๓. ทำให้แกนนำสุขภาพมีการค้นหาผู้ป่วยโรควัณโรครายใหม่ในพื้นที่ตำบลควนเมาและส่งเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561 14:15 น.