กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ "วัยใส ใส่ใจสุขภาพทางเพศ" ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 2561/L7161/1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเบตง
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวรรธ ทองธรรมชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 29,000.00
รวมงบประมาณ 29,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นเป็นระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตด้านร่างกาย มีรูปร่างที่เปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่และมีพัฒนาการทางเพศเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในปัจจุบันแนวโน้มในการเข้าสู่วัยเริ่มหนุ่มสาวเร็วขึ้นทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยในวัยนี้ทั้งหญิงและชายไม่ได้มีเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วย จะเริ่มมีความสนใจในเพศตรงข้าม รวมทั้งเริ่มเกิดอารมณ์ความต้องการทางเพศตามธรรมชาติ ร่วมกับบริบททางสังคมในปัจจุบันที่มีการเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่าย ความหลากหลายของสื่อ และสื่อจำนวนมากก็สามารถกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดอารมณ์ทางเพศได้ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอาจจะชักนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ได้
พฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่สมัยก่อนเรื่องเพศเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่สมควรจะมีการเปิดเผย เมื่อเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร หรือยุคโลกาภิวัฒน์ เรื่องเกี่ยวกับความรู้เรื่องเพศได้ถูกตีแผ่ ประกอบกับอารยธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลเป็นอย่างมากในสังคมไทย รูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ชายหญิงมีอิสระในการติดต่อคบหากันมากขึ้น เกิดสถานบริการ สถานเริงรมย์ในรูปแบบต่างๆ การได้เห็นแบบอย่างตามกระแสสังคมเหล่านี้ ย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศและอาจทำให้เกิดการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม จากข้อมูลการสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ปี 2558 โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ร้อยละของนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ นักเรียนชายม.5 ร้อยละ 25.9 นักเรียนหญิงม.5 ร้อยละ 18.2 นักเรียนชายปวช.2 ร้อยละ 46.3 นักเรียนหญิงปวช.2 ร้อยละ 48.2 และร้อยละการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนชายม.5 ร้อยละ 70.3 นักเรียนหญิงม.5 ร้อยละ 71.1 นักเรียนชายปวช.2 ร้อยละ 64.6 นักเรียนหญิงปวช.2 ร้อยละ 65.9 และจากรายงานของสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย พบว่า อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 15 – 24 ปี ในปี 2558 เท่ากับ 127.1 ต่อแสนประชากร อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15 – 19 ปี พันคน ในปี 2558 เท่ากับ 44.8 ดังนั้น งานสุขศึกษา โรงพยาบาลเบตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ “วัยใส ใสใจสุขภาวะทางเพศ” เพื่อเป็นการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ถูกต้อง มีการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความคิด ทัศนคติ และทักษะที่จำเป็น ที่จะช่วยให้สามารถเลือกดำเนินชีวิตทางเพศอย่างมีสุขภาวะและปลอดภัย และดำรงความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีเหตุผล และมีความรับผิดชอบเพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เยาวชนวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการทางเพศ เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์
  1. เยาวชนมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์ ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 70
2 2. เพื่อให้เยาวชนมีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษา
  1. เยาวชนมีความรู้และทักษะเบื้องต้นที่จัดการกับสถานการณ์ปัญหาทางเพศได้
3 3. เพื่อให้เยาวชนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม
  1. เยาวชนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,000.00 1 29,000.00
19 ก.ค. 61 อบรมส่งเสริมความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์วัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์ "วัยใส ใส่ใจสุขภาวะทางเพศ" 0 29,000.00 29,000.00
  1. เขียนโครงการ เพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโครงการ
  3. สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  4. ประสานโรงเรียนเป้าหมายในการจัดกิจกรรม
  5. จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้เรื่องพัฒนาการวัยรุ่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์
  6. ประเมินความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์
  7. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการทางเพศ เพศศึกษา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/เอดส์
  2. เยาวชนวัยรุ่นมีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษาได้
  3. เยาวชนวัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม
  4. มีเครือข่ายในสถานศึกษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2561 13:09 น.