กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารีย์ เกื้อคลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.389,100.067place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 891 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผุ้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวออกมากำหนดนโยบายหลักการดำเนินการ กำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายกระทรวงสาธารณสุข โดยที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยต้องมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรมและงบประมาณ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ในปี 2560 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 72.22 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต เกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณา คือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย ไม่เกินร้อยละ 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องดำเนินการตั้งแต่ก่อนเกิดโรค เมื่อเกิดโรคและหลังจากเกิดโรคนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องดำเนินการอย่างครอบคลุมต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและทันเวลา ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การให้ความรู้แก่ประชาชน การพ่นเคมีเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมดำเนินการ ซึ่งจะทำให้การป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยการสร้างความร่วมมือของเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

อัตราครัวเรือนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

อัตตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี

0.00
3 เพื่อการควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ

อัตราหมู่บ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออกไม่มีการระบาดซ้ำ (Second Generation Case) ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ เขียนเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกม่วง ประสานงานพื้นที่ ประชุม อสม. ผุ้นำชุมชน เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ 2.ขั้นดำเนินการ ประชุมชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม.รวมถึงแกนนำในหมู่บ้าน ประชุมเตรียมความพร้อมคณะกรรมการทีม SRRTเครือข่ายตำบลในการป้องกันควบคุม รณรงค์ปัองกันควบคุมโรคระบาดประจำถิ่นโดยรถประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคในรูปแบบต่างๆ ฉีดพ่นกำจัดยุงตัวเต็มวัยในช่วงเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออก กิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายโดยคณะกรรมการประเมิน 3 ครั้ง
3.ขั้นสรุปผลโครงการ สรุปผลการดำเนินการตามกิจกรรม รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานผุ้เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่มีการระบาดซ้ำ 2.ประชาชนเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านท่าควาย มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.มีความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบล อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรคระบาดประจำถิ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 15:34 น.