กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดไข้เลือดออก บ้านป่าไหม้-ดอนทราย ปี 2560
รหัสโครงการ 60L302215
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไหม้
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไหม้
พี่เลี้ยงโครงการ นางเต็มดวง วงศา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้นในอดีตที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ5-14ปีซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานีตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2559 ถึงวันที่18 พฤศจิกายน 2559 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 1,515 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 224.11ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ0.15 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ0.07 สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของอำเภอไม้แก่นได้รับรายงานผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น ๓๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย 37.66 ต่อประชากรแสนคน สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของรพ.สต.บ้านป่าไหม้ตั้งแต่วันที่๑มกราคม-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด จำนวน๑๒รายอัตราป่วย 840.34 ต่อประชากรแสนคนโดยพบในหมู่ที่ ๑ จำนวน๑๐ ราย และหมู่ที่ ๔ จำนวน๒ ราย กลุ่มอายุที่ พบสูงที่สุดคือ กลุ่มอายุ ๒๕-๓๔ ปีและ กลุ่มอายุ ๕-๙ ปี ซึ่งทั้ง ๒ กลุ่ม พบจำนวนผู้ป่วยเท่ากัน คือ กลุ่มละ ๓ ราย รองลงมา คือ กลุ่ม อายุ ๑๕-๒๔ ปี และกลุ่มอายุ ๓๕-๔๔ ปี พบผู้ป่วย เท่ากัน คือ กลุ่มละ ๒ราย
ยุทธศาสตร์การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สำคัญประการหนึ่งคือการ ควบคุมลูกน้ำยุงลาย ดัชนีลูกน้ำยุงลายจะต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่จากผลการประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายของรพ.สต.บ้านป่าไหม้ในรอบที่ผ่านมา พบว่า หมู่ ๑ บ้านป่าไหม้ มีค่าดัชนี ลูกน้ำยุงลายเกินเกณฑ์ มาตรฐาน เป็นผลให้ปีที่ผ่านมา หมู่ ๑ บ้านป่าไหม้มีผู้ป่วยมากที่สุดในตำบล ดอนทรายอีกทั้งประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการกำจัดและสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านตัวเอง การควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผล ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทุกหลังคาเรือน อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้มีการดำเนินงานให้มีความครอบคลุมมากขึ้น มีการนำระบบแผนที่หมู่บ้านมาใช้และช่วยในการประเมินผลและควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคลงได้ อีกทั้งยังต้องสร้างความตระหนักให้กับชุมชน ท้องถิ่น การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การป้องกันโรคได้ผลมากยิ่งขึ้นรพ.สต.บ้านป่าไหม้จึงได้จัดทำโครงการบ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยไข้เลือดออก บ้านป่าไหม้-ดอนทราย ปี๒๕๖๐ขึ้นโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลงให้เหลือน้อยที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในปี ๒๕๖๐

๑.อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

2 ๒. เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ในทุกหมู่บ้าน ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

๒.ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่า ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกิน ร้อยละ 10

3 ๓. โรงเรียน/ศาสนสถาน ทุกแห่งปลอดลูกน้ำยุงลาย

๓.ร้อยละ 100 ของโรงเรียน และศาสนสถาน มีค่า ( CI ) เท่ากับ 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ในชุมชน 1.1 ประชุมผู้นำชุมชน ,อาสาสมัครสาธารณสุข ทุกหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินงานบ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยไข้เลือดออก บ้านป่าไหม้-ดอนทราย ปี๒๕๖๐ 1.2 สถานบริการสาธารณสุขจัดละแวกบ้าน ให้อสม.โดยใช้แผนที่หมู่บ้าน ดูแลรับผิดชอบครบทุกหมู่บ้าน 1.3 จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมตามโครงการ
    -ความรู้โรคไข้เลือดออก -การป้องกันโรคไข้เลือดออก -การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในบริเวณครัวเรือน 1.4 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการฯ -เอกสารให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก -ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย 1.5อสม. ดำเนินการรณรงค์เร่งรัดการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในละแวกบ้านที่รับผิดชอบ ทุกหมู่บ้าน
    เป็นประจำทุกเดือน และร่วมรณรงค์ในรอบการรณรงค์4ครั้ง/ปี
    1.6ประธาน อสม. สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ ของหมู่บ้านที่รับผิดชอบส่งสถานบริการ สาธารณสุขต้นสังกัด 1.7สถานบริการสาธารณสุขต้นสังกัด และอสม . อภิปรายปัญหา พร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในปีต่อไป
    ๒. ในโรงเรียน 3.1 ประชุมชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษา/ครูผู้รับผิดชอบรับทราบและเพื่อประสานขอความร่วมมือ 3.2 ประสานโรงเรียนเพื่อดำเนินการตามโครงการดังนี้

- จัดทำคำสั่งเพื่อแต่งตั้งครู/นักเรียน รับผิดชอบในการดำเนินงาน - จัดตั้งทีมนักเรียนเพื่อเป็นอาสาสมัครปราบลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 ทีม เพื่อดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบริเวณโรงเรียน ทุกวันศุกร์ - นักเรียนชั้น ป.3 – ป.6 ทุกคน ร่วมกันรณรงค์เพื่อสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย บ้านของตนเองและบ้านใกล้เคียงอย่างน้อย 1 หลังคาเรือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง - โรงเรียนจัดทำแผน/ปฏิทินการปฏิบัติงานของหน่วยอาสาสมัครปราบลูกน้ำยุงลาย - บันทึกและสรุปผลกิจกรรมการดำเนินงาน ประจำทุกเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อัตราป่วยลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ๒.ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีค่า ดัชนีลูกน้ำยุงลาย ไม่เกิน ร้อยละ 10 ๓.ร้อยละ 100 ของโรงเรียน และศาสนสถาน มีค่า ( CI ) เท่ากับ 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2560 11:23 น.