กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L3020-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 15 พฤศจิกายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารีดี ปากบารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ยปัจจุบันมีการพบการแพร่ระบาดในทุกหมู่บ้านโดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ มีผู้ป่วยมากที่สุดตามลำดับ(ข้อมูลจาก รพ.สต.ม่วงเตี้ยและโรงพยาบาลแม่ลาน) ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตลอดจนความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ทั้งๆที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด ทั้งภาครัฐและเอกชน ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคโดยเฉพาะความร่วมมือจากภาคประชาชน และความร่วมมือของทุกหน่วยงาน องค์กรในชุมชนรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดโรคที่ยั่งยืน จากสภาพปัญหาดังกล่าวกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ยร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ยสาธารณสุขอำเภอแม่ลาน โรงพยาบาลแม่ลานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และประชาชนในพื้นที่ ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกเพื่อทำการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายการฉีดพ่นสารกำจัดยุงลาย(พ่นหมอกควัน) การประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคและการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

2 2. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเองและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

3 3. เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดและการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่และลดอัตราการสูญเสียชีวิตเนื่องจากการเป็นโรคไข้เลือกตลอดจนการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดดอก

 

4 4. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,950.00 0 0.00
1 พ.ย. 59 ค่าจัดซื้อน้ำยาพ่นหมอกควัน 0 8,000.00 -
3 พ.ย. 59 ค่าทำป้ายไวนิว 0 1,200.00 -
10 พ.ย. 59 ค่าจัดซื้อวัสดุ 0 750.00 -
10 พ.ย. 59 ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม 0 15,000.00 -
  1. สำรวจและกำจัดวงจรชีวิตควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อระงับการแพร่ระบาด โรคไข้เลือดออก
  2. แจกทรายอะเบทให้แก่ครัวเรือนในชุมชน
  3. กิจกรรมพ่นน้ำยาหมอกควัน
  4. กิจกรรมประชาสัมพันธ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมกำจัดวงจรชีวิตและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ในระดับหนึ่ง
  2. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง
  3. ประชาชนตื่นกลัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 11:32 น.