กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร
รหัสโครงการ 61-L5221-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,744.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาคร บุญนำ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2561 9,844.00
2 1 ก.ค. 2561 31 ก.ค. 2561 6,900.00
รวมงบประมาณ 16,744.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาจำหน่าย ประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหาร ผู้จำหน่ายวัตถุดิบในการปรุงอาหาร การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็ก รวมทั้งคนในชุมชนเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน ดังนั้น ทางชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารที่ประชาชนได้บริโภค ทั้งในการผลิตและเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของตนเอง และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย ต่อผู้บริโภคเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมอาหารปลอดภัยของประเทศที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาหารปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการอาหารสด และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลท่าบอน

ผู้ประกอบการอาหารสดและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคได้รับความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารสดในตำบลท่าบอน

จำนวนอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารสด ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19.00 0 0.00
1.อบรมให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารสดและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค 0 13.00 -
2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารสด 0 6.00 -
ติดตามประเมินผลต่อเนื่องแผงลอยที่จำหน่ายอาหารสด ปีละ 1 ครั้ง 0 0.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูล แผงลอยจำหน่ายอาหารสด 1.2 จัดทำโครงการเสนอเพื่อพิจารณาขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน 1.3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ 1.4ประสานกลุ่มเป้าหมาย 1.5ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารสด และอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารสารปนเปื้อนที่มักพบในอาหารสด ฟอร์มาลินสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวสารกันราสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 2.3ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้ 2.4ตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารสดในตลาดด้วยชุดตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค 2.5คืนข้อมูลผลการตรวจ รวมทั้งแนะนำการแก้ไขปรับปรุงแก่แผงลอยจำหน่ายอาหารสด
2.6ติดตามประเมินผลต่อเนื่องแผงลอยที่จำหน่ายอาหารสด ปีละ 1 ครั้ง 2.7เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในทะเบียนร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารสด ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1ประเมินผลความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน – หลังได้รับความรู้ 3.2จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่เข้ารับการอบรม
3.3จำนวนตัวอย่างอาหารสดทั้งหมดที่นำมาตรวจสอบสารปนเปื้อน 3.4จำนวนตัวอย่างอาหารสดที่นำมาตรวจสอบสารปนเปื้อนแล้วพบสารปนเปื้อน 3.5จำนวนตัวอย่างอาหารสดที่นำมาตรวจสอบสารปนเปื้อนแล้วไม่พบสารปนเปื้อน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย
  2. ร้านจำหน่ายอาหารสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย
  3. อาหารในพื้นที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561 15:56 น.