กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค ในเขตเทศบาลนครตรัง
รหัสโครงการ 2561-L6896-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 371,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33650 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25070 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรทั้งสิ้น ๕๗,๑๐๔ บาท โดยมีประชากรที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๒,๘๐๐ คนมีผู้สูงอายุ๘,๐๔๑ คน จากสถิติ การเจ็บป่วยของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครตรัง ๕ อันดับโรค ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลตรัง มีดังต่อไปนี้ ๑.โรคความดันโลหิตสูง ๒,๐๕๔ คน๒.โรคเบาหวาน๑,๑๕๗ คน ๓. โรคหัวใจ ๑,๐๐๑ คน๔. โรคหลอดเลือดสมอง ๕๑๗ คน ๕. โรคมะเร็ง ๕๐๗ คน นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่ป่วย(HHC)๓๓๔คน และมีหัตถการต่างๆ ถึง ๗๑ คน(ข้อมูล ณ สิงหาคม ๒๕๖๐) และในปี ๒๕๖๐ เมื่อมีการคัดกรองสุขภาพ โดยการวัดความดันโลหิต, เจาะเลือดบริเวณปลายนิ้ว และคัดกรองซึมเศร้าได้ จำนวน ๑๖,๓๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕ คนพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ๔,๘๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๒และพบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๒,๐๙๙ คน คิดเป็นร้อยละ๑๑.๘๕ ดังนั้นกลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง จึงได้จัดให้มี “ โครงการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค ในเขตเทศบาลนครตรัง ”ขึ้นโดยการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นการค้นหา ป้องกัน ควบคุมโรค พร้อมทั้งให้การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมไม่ป่วยเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ  ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๕

0.00
2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ร้อยละ  ๗๐

0.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ  ๖๐

0.00
4 เพื่อให้สตรีที่มีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

สตรีที่มีอายุ ๓๐ – ๗๐ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๘๐

0.00
5 ผู้สูงอายุ/ผู้พิการได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL)

ผู้สูงอายุ/ผู้พิการได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL) ร้อยละ ๘๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนอายุ๑๕ ปีขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงผู้ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยจากโรค ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ๓๐ – ๗๐ ปีขึ้นไปในพื้นที่บริการของสถานบริการในเครือข่ายเทศบาลนครตรังได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสถานบริการในเครือข่าย ๓.กลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่มีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกคน ๔.ผู้สูงอายุและผู้พิการได้รับการคัดกรองดูแลและส่งเสริมสุขภาพทุกคน ๕.อสม. และแกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุมเป็นนวัตกรรมบริการดูแลสุขภาพของชุมชนโดยแกนนำชุมชนเอง ๖.รูปแบบใหม่ในการให้บริการเชิงรุกในชุมชนที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางโดยการใช้เวลาสะดวกของผู้รับบริการ (นอกเวลาราชการ) เป็นสำคัญ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2561 09:39 น.