กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2561
รหัสโครงการ 2561-L6896-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุข 1 , 2 และ 3 เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 127,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตนา ตั้งคำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการคัดกรอง ผู้สูงอายุในเขตศูนย์บริการสาธารณสุข ๑,๒ และ ๓ เทศบาลนครตรัง จำนวน ๒,๐๖๐ คน พ.ศ. ๒๕๕๙ พบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานร้อยละ ๑๑.๐ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร้อยละ ๑๓.๒ กลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๓๑.๔ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๖ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ๑.การบริโภค คนตรังมีพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค มีการบริโภคหมูย่าง ขนมเค้ก อาหารทอดต่าง ๆ
๒.การมีกิจกรรมทางกาย คือการใช้กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันน้อย การบริหารร่างกายน้อย
ดังนั้นในการจัดการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ต้องทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดี มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ปรับพฤติกรรมการบริโภคในผู้สูงอายุ

๑.  เกิดแกนนำการแพทย์วิถีธรรมอย่างน้อย ๑ คน/ศูนย์ฯ ๒.  ร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้บริโภคผัก ๔๐๐ กรัม/วัน ในวันเข้าอบรม

0.00
2 ปรับพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ

๑.  เกิดแกนนำโยคะอย่างน้อย ๑ คน/ศูนย์ ๒.  ร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายโดยการบริหารแบบโยคะได้ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น ๒.กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังลดลงในผู้สูงอายุ ๓.เกิดแกนนำการแพทย์วิถีธรรมในศูนย์บริการสาธารณสุข ๔.มีกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแพทย์วิถีธรรมเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2561 10:45 น.