กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรไล่ยุงป้องกันโรคไข้เลือดออก ชุมชนบ้านจ้ายเจริญ
รหัสโครงการ 2561-L7572-2-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนจ้ายเจริญ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรพล ปฐมภาคย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากสถิติ3 ปีย้อนหลัง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านจ้ายเจริญ ในปี 2558 ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย และปี 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย
66.66

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุข และของประชาชน พาหะที่นำเชื้อโรคไข้เลือดออกมาสู่คนเราคือ ยุงลาย โดยนำเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสของการเกิดโรคไข้เลือดออก การระบาดของโรคไข้เลือดออก เกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากยุงลายจะนำเชื้อโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกหลายโรค เช่น โรคปวดข้อออกผื่น โรคไข้เหลือง เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งสิ้น โรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดเกิดขึ้นทุกปี เว้นแต่ว่าปีไหนจะรุนแรงกว่ากัน การเกิดโรคไข้เลือดออกมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กันยายน ของทุกปี เชื้อโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันมีการวิวัฒนาการของเชื้อเองซึ่งความรุนแรงของโรคก็จะรุนแรงขึ้นตามไปด้วย นอกจากอัตราการป่วยแล้ว อัตราการตายหรือเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต อันประเมินค่าไม่ได้ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด               จากสถิติ3 ปีย้อนหลัง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านจ้ายเจริญ ในปี 2558 ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย และปี 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 1 ราย ซึ่งจากสถิติจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านจ้ายเจริญยังมีผู้ป่วยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เกือบทุกปี และมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง                ดังนั้น ชุมชนบ้านจ้ายเจริญ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และป้องกันสาเหตุการเกิดโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือขอ งประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index≤10)

0.00
2 เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

สมาชิกในชุมชน ร้อยละ 70 มีความตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนชนลดลง≥50 %

0.00
4 เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

สมาชิกในชุมชน ร้อยละ 70 มีความใส่ในเรื่องการบริหารจัดการขยะ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
ติดตามสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง โดย อสม. 0 0.00 -
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนแก่อสม. และผู้นำชุมชน
  3. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะ การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. การจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม และนวัตกรรมการนำพืชสมุนไพรที่สามารถหาได้ในชุมชนหรือสามารถปลูกเองได้ที่บ้าน มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ กำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสม
  4. เดินรณรงค์ และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและแจกทรายอะเบท
  5. อสม. ออกติดตามตรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
  6. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  2. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรเพื่อกำจัดยุง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 19:31 น.