กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย จากกการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย จากกการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 มีนาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กรรมการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ,กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาไพร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสมารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรงถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้และเครื่องดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรรวมถึงผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่าง เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษยื และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเราว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลเขาไพรเป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม และปลูกผัก ประชากรในตำบลเขาไพรบริโภคผัก เนื้อสัตว์จากตลาดสด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในสารเคมีในการควบคุมและกำจัดศตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ในปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพรมีการตรวจคัดกรองเคมีในเลือดแก่ประชากรที่มีประชากรที่มีความเสี่ยงในตำบลเขาไพร จำนวน 171 รายพบว่า ประชากรมีผลเลือดไม่ปลอดภัยจำนวน 26 ราย เสี่ยง 60 ราย ปลอดภัย 80 ราย และปกติ 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.20 ร้อยละ 35.09 ร้อยละ46.78 และร้อยละ 2.93 ตามลำดับ จากการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรในตำบลเขาไพร คือ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกวิธีและไม่ได้ปฏิบัติตัวในการป้องกันสารเคมีจากการประกอบอาชีพ ขาดความรู้ในการบริโภคผักและผลที่ปนเปื้อนสารเคมี จึงทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพรจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ไม่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในเลือด จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย จากการคัดกรองสารเคมีในเลือด ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ปี 2560 ให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย ได้ดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชากรที่มีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง และในระดับไม่ปลอดภัย

 

2 เพื่ิอให้ประชากรที่มีระดับสารเคมีในเลือดในเลือดในระดับเสี่ยงและในระดับไม่ปลอดภัยมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

 

3 เพื่อให้ประชากรที่มีระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและในระดับไม่ปลอดภัยมีการปลูกผักปลอดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และบริโภคผักที่ตนเองปลูก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ระยะเตรียมการ

- ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ - จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุน - ประสานผู้นำชุมชนในพื้นที่ เพื่อเตรียมการวางแผนการดำเนินงาน 2. ระยะดำเนินงาน - จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มประชากรทีมีระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและในระดับไม่ปลอดภัยทราบ เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินงาน - ให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมก่อนการรับการอบรม - กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ อันตรายและการปฏิบัติตัวจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชการปฏิบัติตัวเมื่อมีระดับสารเคมีในเลือดในเลือดในระดับเสี่ยง และวิธีการล้างผักและบริโภคผักให้ปลอดภัย - กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตณูพืช - กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมให้ประชากรที่มีระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยปลูกผักปลอดสารเคมีกำจัดศัตณชรูพืช และบริโภคผักที่ตนเองปลูก - ทำแบบทดสอบความรู้หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม - กิจกรรมที่ 4 ตรวจสารเคมีในเลือดหลังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการปฏิบัติตัวป้องกันสารเคมีจากการประกอบอาชีพ และการบริโภคผัก - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ 3. ระยะหลังดำเนินงาน - สรุปแบบประเมินพร้อมจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลเขาไพร อำเภอรัษำา จังหวัดตรัง มีความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและการปฏิบัติตัวจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช การปฏิบัติตัวเมื่อมีสารระดับสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยง และวิธีการล้างผักและบริโภคผักให้ปลอดภัย และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง
  2. จำนวนประชากรในตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ปลอดภัย รวมถึงมีการบริโภคผักปลอดสารเคมีในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 10:36 น.