กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 1 -6 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี งบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5240-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.หมุ่ที่ 1 - 6 ตำบลท่าหิน
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กันยายน 2561 - 13 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,065.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันนา ชอบแต่ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภาวดี มงคลบุตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นตัวแทนประชาชนในการปฏิบัติงานสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ในชุมชนของตนเองด้วยความเสียสละและไม่มีค่าตอบแทนและแนวทางการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานแนวใหม่หรืองานสุขภาพภาคประชาชนเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนดูแลกันเองในด้านสุขภาพอนามัย โดยพัฒนาศักยภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีอยู่เดิมแล้วในชุมชนเป็นผู้แสดงบทบาทนำในด้านสุขภาพอนามัย นอกจากนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ยังเป็นผู้ที่รู้ปัญหาในหมู่บ้าน ของตนเอง สำรวจและค้นหาปัญหาตลอดจนหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกับประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ในอนาคตต่อไป ที่ตัวอาสาสมัครเองจะต้องทำได้ และประชาชนเองก็ต้องรู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ปัญหาร่วมกับ อสม. และหน่วยงานที่รับผิดชอบชุมชนนั้น ๆ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้น หากได้รับการแก้ไขตรงจุดจะเกิดผลดี กับชุมชนและประชาชน เพราะประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ที่สามารถรู้ปัญหาในชุมชนของตนเองมากกว่าคนอื่น ๆ
เพราะฉะนั้น การแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามจุดและความต้องการของชุมชน โดยเฉพาะ อสม. ซึ่งเป็นตัวแทนในเรื่องสุขภาพอนามัยในชุมชน จะต้องมีความรู้และสามารถเป็นแกนนำให้กับคนในชุมชนที่ตัวเองรับผิดชอบได้เป็นอย่างดีในด้านต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ¬¬¬¬¬¬¬¬ ขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมและการสร้างสุขภาพในชุมชน การสำรวจปัญหาและสาเหตุของปัญหา ตลอดจนการหาแนวทางแก้ไขปัญหาและเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ อสม. ซึ่งเป็นตัวแทนที่ชุมชนเลือกขึ้นมาให้เป็นตัวแทนประชาชนมาก่อน ในงานสาธารณสุขมูลฐานเดิม จะต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้เป็นแบบอย่าง แก่ประชาชนในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา หมู่ที่ 1-6 ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ให้สามารถถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชนชนได้ถูกต้อง

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ให้สามารถถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชนชนได้ถูกต้อง ร้อยละ100

100.00
2 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถเป็นผู้นำด้านการส่งเสริมและการสร้างสุขภาพได้

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถเป็นผู้นำด้านการส่งเสริมการสร้างสุขภาพได้ ร้อยละ100

100.00
3 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสามสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ให้สามารถสำรวจปัญหา วางแผนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเองได้ถูกต้อง

1.เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสามสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ให้สามารถสำรวจปัญหา วางแผนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ100

100.00
4 4.ประชนชนรู้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ถูกต้อง

1.ประชนชนรู้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ถูกต้อง ร้อยละ100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,065.00 1 10,065.00
12 - 13 ก.ย. 61 อบรมฟื้นฟูอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 10,065.00 10,065.00

1.ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
3.อบรมฟื้นฟูความรู้ -จัดทำตารางการอบรม / เชิญวิทยากร -ดำเนินการอบรม -สรุปผลการอบรม 4.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยให้แก่ประชนชนได้ถูกต้อง
2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นผู้นำด้านสร้างและส่งเสริมสุขภาพในหมู่ บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถสำรวจปัญหา วางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนได้ ถูกต้อง 4.ประชาชนรู้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนได้ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561 15:11 น.