กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ครัวสุขภาพลดเค็ม ในครัวเรือนศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑
รหัสโครงการ 2561-L7572-01-016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำโรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 26,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรภรณ์ เกตุแสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก พบว่าทั่วโลกมีผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงเกือบ 1,000 ล้านคน 2 ใน 3 ของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยพบว่าคนในวัยผู้ใหญ่ของเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มีประชากร๑ใน๓มีภาวะความดันโลหิตสูงและคาดว่าในปี๒๕๖๘ ประชากรในวัยผู้ใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ ๑.๕๖พันล้านคน ส่วนในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2555 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุความดันโลหิตสูง จำนวน 3,684 คน สถานการณ์ป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค เมื่อเปรียบเทียบจากปี ๒๕๔๔และปี ๒๕๕๕ พบว่าอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนจะมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจาก ๑๕๖,๔๔๒ รายเป็น ๑,๐๐๙,๓๘๕ราย ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่า ๕ เท่า อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/425058 จากการจัดลำดับความสำคัญปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาอันดับ ๑และโรคเบาหวานเป็นปัญหา ระดับ ๓ ของศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ จากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปี ๒๕๖๐ พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน ๑๐๐ คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๔๓ คน จากปัญหาดังกล่าวศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำจึงได้จัดทำโครงการครัวสุขภาพลดเค็ม ในครัวเรือนศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวกลายเป็นกลุ่มป่วยและกลุ่มป่วยสามารถบริโภคเกลือได้ถูกต้องในภายหน้าการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็ช้าลงด้วย ส่งผลให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวานที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูงบริโภคเกลือในครัวเรือนได้ถูกต้อง

๑ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวานที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูงบริโภคเกลือในครัวเรือนได้ถูกต้อง ร้อยละ๗๐

0.00
2 2.๒ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

๒ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกินร้อยละ ๕   ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ  60

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวานที่มีโรคร่วมความดันโลหิตสูงควบคุมโรคได้

เพื่อให้กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวานที่มีโรคร่วมความดันโลหิตสูงควบคุมโรคได้ ร้อยละ ๕๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26.00 1 18,921.50
อบรมและติดตาม 0 26.00 18,921.50

กิจกรรมที่ ๑ -ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่ อสม.แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ - จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย เตรียมเอกสารแผ่นพับความรู้ - ประชาสัมพันธ์แผนงานโครงการ กิจกรรมที่ ๒ - จัดอมรมให้ความรู้ กิจกรรมที่ ๓ -ติดตามสำรวจการบริโภคเกลือในครัวเรือนโดยจนท./อสม.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัวกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัวกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวานที่มีโรคร่วมความดันโลหิตสูงสามารถเลือกบริโภคเกลือในรูปแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงลดการเกิดโรครายใหม่กลุ่มป่วยสามารถควบคุมภาวะโรคได้มากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ช้าลงด้วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2561 11:38 น.