กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต สำหรับการพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ดูแลเด็กเล็กและฟื้นฟูคุณภาพชีวิิตผู้สูงอายุและคนพิการ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 มีนาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์ดูแลเด็กเล็กและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ทั้งทาวด้านร่างกาย จิตใจ และได้รับการส่งเสริมในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทุกคนออกทำงานนอกบ้าน บางครั้งทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ทำให้เกิดปัญหากับผู้สูงอายุในด้านต่างๆ การเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ โดยทั่วไปเราคือว่าผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ในทางปฏิบัติจะนับตั้งแต่ 65 ปี วัยนี้ถือเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการแห่งชีวิตและการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดในช่วงนี้มักเป็นไปในทางเสื่อมลง โดยแบ่งการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ด้าน หลัก คือ 1. ด้านร่างกาย ได้แก่
1.1 ผิวหนังเหี่ยวย่น สีผิวเปลี่ยนมักเกิดจุดด่าง-ขาว หรือตกกระ คันตามผิวหนัง เนื่องจากผิวแห้ง เส้นเลือดฝอยแตกง่าย ทำให้มีรอยฟกช้ำตามตัวง่าย 1.2 ผมและขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว มักหลุดร่วงง่าย 1.3 กล้ามเนื้อและกระดูกไม่แข็งแรง ทำให้เลื่อนไหวได้ช้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆกระดูกมักหักได้ง่าย บางรายที่กระดูกหลังเสื่อมมากจะเห็นมีลักษณะหลังโก่ง
1.4 การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายลดลง ส่วนหนึ่งเกิดจากเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะดังกล่าวได้น้อยลง อวัยวะที่ว่านี้ ได้แก่ สมองสั่งการช้า จำเรื่องใหม่ได้น้อยลง คิดช้าลง 1.5 ประสาทสัมผัสทั้งห้า การรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสต่างๆทางผิวหนังน้อยลง 1.6 ระบบย่อยอาหาร การขับถ่ายลดลง การรับรู้รสของลิ้นน้อยลง มีผลให้เบื่ออาหาร ท้องอืดและท้องผูก 1.7 ระบบไหลเวียนเลือด เลือดข้นมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนลดลง หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ทำให้หัวใจต้องสูบเฉรยดเลือดแรงขึ้น ในขณะที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง มีผลให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว หริอโรคของเส้นเลือด เช่น ความดันโลหิตสูงได้ง่าย 1.8 ตับและไต ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ช้า 1.9 ฮอร์โมน ต่อมผลิตฮอร์โมน ต่างๆเสื่อมไป มีผลให้ปริมาณฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายลดลง ก่อให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคขาดธัยรอยฮอร์โมน โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น 2. ด้านจิตใจและอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลง บางรายก็อาจพบกับความสูญเสียบุคคลใกล้ชิดในช่วงนี้ อีกส่วนเป็นผลจากสถานภาพทางสังคม ที่เปลี่ยนไป เพราะความศูงอายุ ชนิดของอารมณ์ที่ผู้สูงอายุมักแสดงออกที่ผิดปกติและพบได้บ่อย คือ อารมณ์เศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ เหงา ร้องไห้บ่อยๆซม แยกตัว ฯลฯ อารมณ์วิตกกังวลก็พบได้บ้าง มักแสดงออกโดยห่วงใยลูกหลานมากขึ้น บางครั้งจะมีอาการเครียด หงุดหงิด บ่นมากขึ้น อาการทางจิตที่รุนแรง เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หรือหลงผิด หวาดระแวงต่างๆ พบได้บ้างบางครั้งจะมีอาการสับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่และบุคคล กลางคืนไม่นอน เดินวุ่นวาย หรือมีอาการ ขับถ่ายเลอะ พฤติกรรมเป็นเด็กทารก หรือมีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมก็ได้ ในกรณีที่สมองเสื่อมมากๆ 3. ด้านสังคม บทบาทและความสำคัญของผู้สูงอายุในสังคมมักถูกจำกัดให้ลดลง ทั้งนี้เนื่ื่องจากถูกมองว่าสุขภาพไม่แข็งแรง เกิดภาวะความเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การสื่อสารกับคนทั่วไปทไำได้ลำบาก มีผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ในบ้าน และมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์ หมดคุณค่าเป็นภาระให้ลูกหลาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยพึ่งตนเอง หรือเป็นที่พึ่งให้สมาชิกในครอบครัว ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้รับการช่วยเหลือ และถ้าผู้ใกล้ชิดไม่ให้ความสนใจ จะส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง ถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้ ด้วยเหตุนี้ ทางศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตำบลเขาไพร จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมของโรงเรียน จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีการดำเนินการอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านการอบรมสัมนาโดยการถ่ายทอดความรู้จากผู้มีความรู้ในการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุและแลกเปลียนเรียนรู้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ดำเนินกิจกรรมด้านผู้สูงอายุ เพื่อจะได้นำมาใช้กับกลุ่มกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในโรงเรียนผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ และฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุทางด้านจิตใจ สุขภาพ โดยสร้างขึ้นผ่านกิจกรรมทางด้านสังคม

 

2 2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรวมกลุ่มกันของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม

 

3 3. ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนผู้สูงอายุ

 

4 4.เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุสนใจการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน

 

5 5. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเข้าสังคม ได้พบปะพูดคุยกัน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมผู้ส่วนเกียวข้องในการดำเนินงาน ได้แก่ อบต.เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเขาไพร ตัวแทนผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนผู้สูงอายุ
  2. จัดทำโครงการนำเสนอผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานวิทยากรที่มีความรู้ในเรื่องการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ
  4. ประสานงานหน่วยงานที่จะเข้าดำเนินการ
  5. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ในโครงการฯ
  6. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุสามารถนำประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมผู้สูงอายุต่างท้องที่ มาปรับใช้ในกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุเองได้ สร้างความเข้มแข็งให้กับชมรม
  2. สามารถนำกิจกรรมที่ได้ศึกษามากำหนดเป็นหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุได้ เพื่อพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข้็ง และเป็นศุนย์กลางของการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุได้
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาฟื้นฟูสุขภาพกายให้สามารถลดการพึ่งพาจากบุคคลในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560 13:09 น.