กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเทศบาลร่วมใจ ระงับโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7889-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจ อ่อนแก้ว,ดวงดาว อุปสิทธิ์,อารีย์ สุวรรณชาตรี,สุดา นิยมเดชา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นแก่สาธารณชน ได้ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย สึนามิ ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันเป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้กระทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ (พ.ร.บ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ. ศ. 2522) ซึ่งภัยธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของภัยพิบัติ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากการพัฒนา และกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ทั้งรูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งจากการ ปนเปื้อนสารเคมีมลพิษในสิ่งแวดล้อม อาหารและน้ำรวมถึงการระบาดของโรคติดเชื้อใหม่ๆ ลักษณะสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยที่มีความหลากหลาย เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อให้เกิดปัญหามลพิษอากาศและประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ง่าย รวมทั้งความเสี่ยงที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งและการที่ประเทศไทย มีสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้นทำให้มีช่วงฤดูฝนและฤดูร้อนที่ยาวนาน ส่งผลให้ต้องประสบปัญหาภัยธรรมชาติทั้งอุทกภัย และพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยในทุกๆ ปี โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ยิ่งส่งผลต่อความรุนแรง และความถี่ของภัยธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเกิดอุทกภัยในภาคใต้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในลักษณะของน้ำท่วมขัง (drainage flood) เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล (กรมอุตุนิยมวิทยา)และ อุทกภัยเกี่ยวกับน้ำล้นตลิ่ง (river flood) เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมาก จนระบายลงสู่ลุ่มน้ำและระบายไม่ทันทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง
ชุมชนเทศบาลตำบลปริกมีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มคลองอู่ตะเภา และคลองปริกน้ำท่วมสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามริมตลิ่งและพื้นที่ราบลุ่มได้รับความเสียหาย ถนนหรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้ (กรมอุตุนิยมวิทยา) เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมผลกระทบที่ตามมาคือการเกิดโรคที่มากับน้ำ เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคหวัดโรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก การเกิดอุบัติเหตุต่างๆเป็นต้น(จากข้อมูลการเกิดอุทกภัยปี 2558โดยสำนักปลัด ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลปริก)และพบว่ามีบ้านเรือนในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลปริกที่ประสบภัยประมาณ 1,361 หลังคาเรือน และพบว่าประชากรในเขตเทศบาลตำบลปริกมีปัญหาสุขภาพเช่น โรคหวัดโรคน้ำกัดเท้า โรคมือเท้าปากและการเกิดโรคระบาดไข้เลือดออก โรคฉี่หนู การเกิดอุบัติเหตุต่างๆการเกิดมลพิษทางอากาศภาวะเครียด และสิ่งแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะในเรื่องการขับถ่ายและการดำรงชีวิตอยู่ จากสถานการณ์ดังกล่าวกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมและการป้องกันการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เมื่อเกิดภัยพิบัติและหลังเกิดภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลปริกจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ จัดหาเวชภัณฑ์ วัสดุการแพทย์ อุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติได้รับการส่งเสริม การป้องกันโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสม ได้รับดูแลและการช่วยเหลืออย่างครอบคลุมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละ 80 ครัวเรือนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับช่วยเหลือ บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนได้อย่างทันสถานการณ์

 

2 ครอบครัวที่ประสบปัญหาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ

 

3 ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค ตลอดจนด้านการจัดการสิ่งแวดให้เหมาะสมไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้ดำรงชีวิตเป็นอย่างปกติ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมผู้บริหาร ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการกอง เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือแก้ปัญหาพื้นที่
  2. จัดทำขออนุมัติจัดซื้อเวชภัณฑ์ สารเคมี วัสดุทางการแพทย์และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องและจำเป็นให้แก่ประชาชนที่ประสบภัย
  3. ดำเนินงานลงพื้นที่ส่งเสริม ป้องกันควบคุมโรคที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน
  4. ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและหาแนวทางการแก้ไข
  5. สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารเทศบาลและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับการช่วยเหลือ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ 2.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรค หรือการช่วยเหลือผลกระทบทางสุขภาพ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนให้สามารถดำรงชีวิตเป็นอย่างปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 10:27 น.